ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของรูปภาพอาจจะมีการเปลี่ยนสี หรือมีแถบคาด (การกะพริบ) ปรากฎขึ้นมา
ทำความเข้าใจกับการกะพริบ
ปรากฎการณ์ต่อไปนี้อาจจะเกิดได้เมื่อทำการถ่ายภาพภายใต้ แสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์ แสงไฟ LED หลอดไฟโซเดียม หลอดไฟปรอท ฯลฯ
- หน้าจอกะพริบเมื่อมีการแสดงหน้าจอไลฟ์สดหรือในระหว่างการถ่ายภาพยนตร์
- แถบคาดจะปรากฎขึ้นมาหรือสีมีการเปลี่ยนไปในภาพนิ่งที่ถ่ายได้
ปรากฎการณ์นี้เรียกว่าการกะพริบ (Flicker) และไม่ได้เป็นการทำงานที่ผิดปกติ
ตัวอย่างของภาพกะพริบ
การเปลี่ยนแปลงในสี
แถบคาดในรูปภาพ
ทำไมการกะพริบทำให้เกิดปัญหา
คุณลักษณะของแสงไฟ
แม้ว่าแสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์ส่วนใหญ่จะใช้อินเวอร์เตอร์ แต่หลอดแสงฟลูออเรสเซ็นต์รุ่นเก่าจะกะพริบที่ 100 หรือ 120 ครั้งต่อวินาที
ในทางกลับกัน แสงไฟ LED และป้ายไฟที่การใช้งานเพิ่มขึ้นทั่วไป จะมีการกะพริบที่มากขึ้น ที่หลายร้อยหรือหลายพันครั้งต่อวินาที
การเปลี่ยนแปลงในความสว่างจากการกะพริบนี้อาจจะทำให้เกิดปัญหากับรูปภาพได้
แสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์
- รอบการกะพริบ: 100 หรือ 120 Hz
- คุณลักษณะ: บ่อยครั้งสีของวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงไปกับการผันผวนที่ต่อเนื่องในความสว่าง ตามการกะพริบของแสงไฟที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสว่างไปเป็นมืด
รับชมวิดีโอที่แสดงถึงรอบการกะพริบของแสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์ :
แสงไฟ LED
- รอบการกะพริบ: ในระดับหลายร้อยหรือหลายพัน Hz
- คุณลักษณะ: แสงไฟมีการเปิดและปิดซ้ำ ๆ กันอย่างรวดเร็ว
รับชมวิดีโอที่แสดงถึงรอบการกะพริบของแสงไฟ LED:
โครงสร้างของชัตเตอร์กล้อง
ในกล้องเลนส์แบบเปลี่ยนได้ชัตเตอร์แบบม่าน (Focal-plane shutter) จะอยู่ที่ด้านหน้าของตัวเซนเซอร์ภาพ ชัตเตอร์แบบม่าน (Focal-plane shutter) ประกอบด้วยม่านด้านหน้าและม่านด้านหลัง โดยการปรับแต่งความแตกต่างในขณะที่แต่ละม่านเริ่มต้นเคลื่อนที่ กล้องจะทำการควบคุมเวลารับแสง (ความเร็วชัตเตอร์)
ตัวอย่าง เมื่อความเร็วชัตเตอร์ตั้งไว้ที่ 1/1000 วินาที ม่านด้านหลังจะเคลื่อนที่ตามการเคลื่อนที่ของม่านด้านหน้า และจะได้ช่องเปิดรูปทรงช่องหน้าต่าง (Slit) สำหรับเปิดแสงให้กับเซนเซอร์ภาพ
นอกจากนี้ยังจะใช้เวลา 1/1000 วินาทีสำหรับม่านด้านหลังที่จะผ่านจุดหนึ่งบนหน้าจอ หลังจากที่ม่านด้านหน้าได้ผ่านจุดเดียวกันนี้ไปแล้วอีกด้วย
หรือในทางกลับกัน จะใช้เวลาจากประมาณ 4 มิลลิวินาทีถึงหลายสิบมิลลิวินาทีหลังจากที่ม่านด้านหน้าเริ่มเคลื่อนที่จนถึงม่านด้านหลังหยุดเคลื่อนที่ เวลาจำนวนนี้จะแตกต่างกันตามชนิดชัตเตอร์ที่ใช้
ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงก่อน และระหว่างการเคลื่อนที่ของชัตเตอร์:
ก่อนการเคลื่อนที่ของชัตเตอร์
ระหว่างการเคลื่อนที่ของชัตเตอร์
- A: ม่านด้านหน้า
- B: ม่านด้านหลัง
- C: เวลาเปิดรับแสง (Exposure time) (ความเร็วชัตเตอร์)
รับชมวิดีโอแสดงการเคลื่อนที่ของชัตเตอร์ และเวลาเปิดรับแสง (Exposure time):
-
รูปภาพที่แสดงถึงความสว่าง และสีที่แตกต่างกันระหว่างด้านบนสุดและล่างสุด เนื่องจากความแตกต่างของช่วงเวลาเปิดรับแสงที่ด้านบนสุดและล่างสุดของเซนเซอร์ภาพ
-
รูปภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงในความสว่างที่เกิดเป็นแถบคาด เนื่องมาจากถ่ายภาพภายใต้แสงไฟ LED ที่มีรอบการกะพริบที่รวดเร็ว หรือการเคลื่อนที่ของช่องม่านชัตเตอร์ต้องใช้ระยะเวลาที่นานมากขึ้น
สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ ในการถ่ายภาพที่มีการลดเอฟเฟ็คของการกะพริบ กรุณาอ้างอิงกับหน้าด้านล่าง
วิธีลดการกะพริบที่ทำให้สีผิดปกติในบางส่วน หรือทั้งหมดของรูปภาพหรือมีแถบทางแนวนอนเกิดขึ้น