เคล็ดลับในการถ่ายภาพ > เปลี่ยนฉากอันคุ้นเคยให้เป็นงานศิลป์

    ระดับ: ผู้เริ่มต้น

    บทที่ 10เปลี่ยนฉากอันคุ้นเคยให้เป็นงานศิลป์

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 16 มม. / F-number: 8.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที / สร้างสรรค์ภาพถ่าย: พระอาทิตย์ตก

    หากคุณชื่นชอบการถ่ายภาพที่พบเห็นระหว่างทำงานหรือในชีวิตประจำวัน บางทีคุณอาจรู้สึกว่าภาพที่ได้นั้นดูไม่น่าสนใจเท่าที่ควร และไม่สามารถสื่อถึงอารมณ์ที่แท้จริงของฉากได้ ในบทนี้ คุณจะได้เรียนรู้ฟังก์ชันและเคล็ดลับในการถ่ายภาพของฉากที่คุ้นเคยเหล่านี้

    พิจารณาการจัดองค์ประกอบและวิธีการครอบตัดภาพ

    การถ่ายภาพสบายๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ใดๆ นั้นทำให้การถ่ายภาพเป็นเรื่องสนุก แต่ให้ลองคำนึงถึงการจัดองค์ประกอบและวิธีการครอบตัดฉากในภาพด้วย ขั้นแรก ลองมาดูวิธีการครอบตัดภาพกัน หากคุณหยิบกล้องออกมาถ่ายภาพในทันที ภาพที่ได้จะดูยุ่งเหยิงและมีวัตถุที่ไม่สำคัญอยู่ในเฟรมเป็นส่วนใหญ่
    แทนที่จะใส่ทุกอย่างลงไปในเฟรมภาพ ให้โฟกัสจุดสนใจไปที่องค์ประกอบหลัก โดยเฉพาะเมื่อถ่ายภาพที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
    โดยทั่วไปแล้ว การตั้งค่ามุมมองภาพ (ความยาวโฟกัส) ให้ใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์ที่สุดคือการใช้ความยาวโฟกัสให้มีระยะไกลเล็กน้อย ให้ใช้การซูมอย่างจงใจขณะที่ถ่ายภาพ

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 35 มม. / F-number: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/1000 วินาที / การชดเชยแสง: +1 /
    สมดุลสีขาว: ในร่ม / สร้างสรรค์ภาพถ่าย: ทิวทัศน์ (คอนทราส: +3, ความอิ่มตัว: -3)

    ภาพนี้ถ่ายโดยใช้เลนส์ SEL1855 ที่ความยาวโฟกัส 35 มม. โดยครอบตัดฉากให้ธงเป็นจุดสนใจหลัก การซูมไปในช่วงระยะไกลเล็กน้อยทำให้ขนาดของธงและอาคารรอบข้างมีความสมดุลกัน

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 23 มม.

    ภาพนี้ถ่ายโดยใช้ความยาวโฟกัสมุมกว้าง เพื่อพยายามใส่วัตถุ เช่น โคมไฟตามท้องถนนหรืออาคารลงไปในภาพให้มากที่สุด พื้นที่ในเฟรมส่วนใหญ่จึงมีแต่อาคารกับพื้น และธงที่เป็นจุดสนใจกลับมีขนาดเล็กอยู่ที่ด้านหลัง หากเทียบกับภาพนี้แล้ว ภาพถ่ายแรกที่ใช้ความยาวโฟกัสไกลเพื่อให้ธงดูมีขนาดใหญ่ จึงดูน่าตื่นตามากกว่า

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 50 มม. / F-number: 8.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/250 วินาที ความยาวโฟกัส: 50 มม. / F-number: 8.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/1000 วินาที

    ตัวอย่างด้านบนถ่ายโดยใช้ความยาวโฟกัสที่ 50 มม. ซึ่งการครอบตัดในระดับนี้จะทำให้ฉากบางฉากดูน่าสนใจขึ้นได้

    นี่เป็นภาพถ่ายระยะใกล้โดยใช้เลนส์ระยะไกลขณะที่เดินอยู่บนท้องถนน การถ่ายภาพชิ้นส่วนเล็กๆ ให้แน่นเฟรมจะช่วยให้ผู้ชมจินตนาการถึงบรรยากาศที่ไม่สามารถพบเห็นในภาพถ่ายได้

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 57 มม. / F-number: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาทีความยาวโฟกัส: 300 มม. / F-number: 11 / ความเร็วชัตเตอร์: 2.5 วินาที

    การจัดองค์ประกอบภาพถ่ายมีหลายวิธี เช่น "กฎสามส่วน" และ การจัดองค์ประกอบภาพในแนวทแยง เป็นต้น แต่ถ้าหากจดจ่อกับการจัดองค์ประกอบเหล่านั้นมากเกินไป ภาพที่คุณถ่ายอาจขาดเอกลักษณ์และความน่าสนใจได้ ควรใช้กฎดังกล่าวเพื่ออ้างอิงเท่านั้นในกรณีที่คุณไม่ทราบว่าจะจัดองค์ประกอบภาพแบบใด ให้ค้นหาการจัดองค์ประกอบภาพหรือการสื่ออารมณ์ในแบบของคุณเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณเดินเล่นข้างนอก เพราะการถ่ายภาพที่คุณชอบ ถือเป็นแก่นสารในการสร้างสรรค์งานศิลป์ที่แท้จริง

    หากคุณสามารถใช้เลนส์ซูมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุณจะสามารถครอบตัดฉากที่คุ้นเคยให้กลายเป็นงานศิลป์ชิ้นเลิศได้ แม้ในครั้งแรกอาจจะไม่ได้ผลอย่างที่คาดไว้ แต่ให้ลองใช้เลนส์ซูมเพื่อหารูปแบบที่คุณชอบดู

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 11 มม. / F-number: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/160 วินาที

    การใช้ Picture Effect

    หากคุณต้องการแต่งเติมภาพถ่ายให้ดูมีเอกลักษณ์ ให้ลองใช้ฟังก์ชัน Picture Effect ดู
    การใช้ Picture Effect จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์ภาพที่มีอารมณ์ย้อนยุค หรือภาพถ่ายเชิงศิลป์ที่เหมือนภาพวาดได้โดยไม่ต้องตกแต่งเพิ่มเติมในคอมพิวเตอร์ (*) กล้องในรุ่น α มีเอฟเฟกต์หลายแบบ ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างเพียงบางส่วนเท่านั้น

    (*) ประเภทของเอฟเฟกต์ที่ Picture Effect มีให้เลือกใช้จะแตกต่างกันไปตามกล้องในแต่ละรุ่น

    High Contrast Monochrome จะทำให้คุณถ่ายภาพขาวดำที่มีคอนทราสสูงได้เหมือนกับฟิล์มขาวดำ เอฟเฟกต์นี้เหมาะสำหรับการแสดงภาพแนวสตรีทให้ดูมีพลัง และยังใช้เอฟเฟกต์นี้เพื่อเปลี่ยนภาพถ่ายสีในสภาวะต่างๆ ที่ดูไม่น่าประทับใจ เช่น ในวันที่มีฝนตกหรือมีเมฆมากให้กลายเป็นงานศิลป์ได้

    ภาพถ่าย

    High Contrast Monochrome

    Soft High-key จะทำให้ภาพถ่ายของคุณดูนุ่มนวลและซีดจางพร้อมกับเพิ่มเฉดสีฟ้าลงไป เอฟเฟกต์นี้จะช่วยเพิ่มความแฟนตาซีให้กับภาพถ่ายไม่ว่าจะเป็นวัตถุแบบใดก็ตาม

    ภาพถ่าย

    Soft High-key

    Partial Color จะเก็บบางสีไว้แล้วเปลี่ยนสีอื่นให้กลายเป็นสีขาวดำ การใช้เอฟเฟกต์นี้ แม้ภาพถ่ายของเสื้อผ้าก็กลายเป็นงานศิลป์ที่มีสไตล์ได้ ใช้เอฟเฟกต์นี้กับภาพถ่ายดอกไม้และวัตถุขนาดเล็กจะช่วยทำให้ภาพกลายเป็นงานศิลป์ที่น่าดึงดู

    ภาพถ่าย

    Partial Color (Blue)

    นอกจากนี้ยังมีเอฟเฟกต์อื่นๆ เช่น "Toy Camera," "Miniature," "Retro Photo," และ "Posterization (Color)" อีกด้วย ลองใช้เอฟเฟกต์ต่างๆ ในการถ่ายภาพในชีวิตประจำวันของคุณดู

    ภาพถ่าย

    Toy Camera

    ภาพถ่าย

    Miniature

    ภาพถ่าย

    Retro Photo

    ภาพถ่าย

    Posterization (สี)

    ลองใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสคงที่

    เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่สามารถสร้างฉากหลังที่พร่ามัวได้อย่างสวยงาม และเปลี่ยนภาพถ่ายหรือทิวทัศน์อันน่าคุ้นเคยให้กลายเป็นงานศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ได้ นอกจากนี้ เลนส์ยังสามารถให้แสงผ่านเข้าไปยังกล้องได้ในปริมาณมาก จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพในร่ม หรือภาพท้องถนนยามค่ำคืน

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 35 มม. / F-number: 1.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที

    ไพรม์เลนส์ 35 มม. ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาสำหรับกล้องฟูลเฟรมนี้ ให้คุณภาพของภาพที่โดดเด่นแม้จะใช้ขนาดรูรับแสงกว้างสุดที่ F1.8 เป็นตัวเลือกอเนกประสงค์สำหรับทุกสิ่ง ตั้งแต่การถ่ายภาพบนโต๊ะไปจนถึงการถ่ายภาพกลางแจ้งได้ยอดเยี่ยม การทำงานของ AF ที่เงียบ แม่นยำ รวดเร็ว และ AF Tracking ที่ไว้วางใจได้ทำให้เลนส์นี้เหมาะสมสำหรับการถ่ายวิดีโอและภาพนิ่ง

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 50 มม. / F-number: 1.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/3200 วินาที

    ไพรม์เลนส์ 50 มม. รูรับแสงขนาดใหญ่เป็นสิ่งที่ผู้ใช้กล้องฟูลเฟรมมืออาชีพต้องจับจอง และเลนส์นี้ก็เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมในราคาย่อมเยา การออกแบบออปติคอลสุดล้ำสมัยเพื่อคุณภาพสูงของภาพ และรูรับแสงสูงสุด F1.8 ขนาดใหญ่สามารถสร้างโบเก้ฉากหลังที่งดงาม บนตัวกล้อง E-เมาท์ของฟอร์แมท APS-C เลนส์นี้ให้คุณภาพสูงที่เทียบเท่ากับความยาวโฟกัสประมาณ 75 มม.