วิธีลดการกะพริบที่ทำให้สีผิดปกติในบางส่วน หรือทั้งหมดของรูปภาพหรือมีแถบทางแนวนอนเกิดขึ้น
มีหลายวิธีที่จะลดผลกระทบของการกะพริบ
หมายเหตุ: บางฟังก์ชันอาจจะไม่พร้อมใช้งาน ขึ้นอยู่กับรุ่นของตัวเครื่อง สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ กรุณาอ้างอิงกับคู่มือช่วยเหลือ (Help Guide) รุ่นของท่าน
ทำการตั้งค่า (Setting) e-Front Curtain Shutter ไปที่ ปิด (Off) หรือ ชนิดของชัตเตอร์ (Shutter Type) ไปที่ ชัตเตอร์แบบกลไก (Mechanical Shutter) (เมื่อถ่ายภาพนิ่ง)
ท่านสามารถลดผลกระทบของการกะพริบได้โดยทำการตั้งค่า e-Front Curtain Shutter ไปที่ ปิด (Off)หรือ ชนิดของชัตเตอร์ (Shutter Type) ไปที่ ชัตเตอร์แบบกลไก (Mechanical Shutter) ถ้าหากกล้องของท่านมีฟังก์ชันเหล่านี้
การเปลี่ยนแปลงความเร็วชัตเตอร์ (เมื่อถ่ายภาพนิ่ง)
ผลกระทบของการกะพริบสามารถจะลดลงได้โดยการเปลี่ยนแปลงความเร็วชัตเตอร์
ความเร็วชัตเตอร์ที่มีผลในการลดปรากฏการณ์การกะพริบ จะแตกต่างกันไปตามภูมิภาคที่ท่านใช้กล้องนั้น
ในภูมิภาคที่ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟเป็น 50 Hz ความเร็วชัตเตอร์ที่แนะนำจะเป็น 1/50 วินาที หรือ 1/100 วินาที ในขณะที่ภูมิภาคที่ความถี่เป็น 60 Hz จะแนะนำเป็น 1/60 วินาที หรือ 1/120 วินาที
ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed): 1/200 วินาที
ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed): 1/50 วินาที
โดยใช้ฟังก์ชัน การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) เมื่อถ่ายภาพนิ่ง หรือฟังก์ชัน Var. Shutter เมื่อถ่ายภาพนิ่งหรือภาพยนตร์
ปัญหาการกะพริบจะปรากฏเป็นแถบคาดในภาพที่ถ่ายไว้ด้วยชัตเตอร์แบบม่าน (Focal-Plane Shutter) ภายใต้แหล่งแสงไฟที่กะพริบ เนื่องจากมีการถ่ายในขณะที่แสงไฟมีการสว่างและมืดในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนเซนเซอร์ภาพ
สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ กรุณาอ้างอิงกับหัวข้อ อาจจะเกิดการเปลี่ยนสีในบางส่วนหรือทั้งหมดของรูปภาพ หรืออาจจะมีแถบคาดทางแนวนอน (การกะพริบ)
มีสองฟังก์ชันให้ในการลดผลกระทบของการกะพริบ – การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) และ Var. Shutter– และแต่ละฟังก์ชันจะมีผลในฉากที่แตกต่างกัน
คุณสมบัติและสภาวะการถ่ายภาพ | การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) | Var. Shutter |
---|---|---|
คุณสมบัติต่างๆ | กล้องสามารถปรับจังหวะการถ่ายของรูปภาพ ให้มีการกะพริบที่มีผลน้อยลงได้ โดยการตรวจหาความถี่การกะพริบโดยอัตโนมัติ | ท่านสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้ ในระหว่างการตรวจเช็คผลของการกะพริบบนจอภาพ ในบางรุ่น ความเร็วชัตเตอร์ที่มีผลต่อการกะพริบน้อยกว่าจะมีการเลือกให้โดยอัตโนมัติ กดตรงกลางของวงล้อควบคุมเพื่อให้ตรวจหาและลดการกะพริบให้โดยอัตโนมัติ |
ภาพนิ่ง/ภาพยนตร์ | ภาพนิ่งเท่านั้น | ภาพนิ่ง/ภาพยนตร์ |
ชนิดชัตเตอร์ | ชัตเตอร์แบบกลไก (Mechanical Shutter) (สำหรับ ILCE-1 จะมีชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shutter) ให้ด้วย) | ชัตเตอร์แบบกลไก (Mechanical Shutter) *1/ชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shutter) |
โหมดรับแสง (Exposure Mode) | P (ตั้งโปรแกรมอัตโนมัติ (Program Auto)) /A (กำหนดค่ารูรับแสงเอง (Aperture Priority)) /S (กำหนดความเร็วชัตเตอร์เอง (Shutter Priority)) /M (ปรับการรับแสงเอง (Manual Exposure)) | S (กำหนดความเร็วชัตเตอร์เอง (Shutter Priority)) /M (ปรับการรับแสงเอง (Manual Exposure)) /โหมดรับแสงปรับเปลี่ยนได้ (Flexible Exp. Mode) ที่สามารถปรับความเร็วชัตเตอร์เองได้ |
ชนิดของการตรวจพบการกะพริบ | การกะพริบที่มีความถี่ 100 Hz หรือ 120 Hz (เช่นแสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์) เท่านั้น *2 | การกะพริบที่มีความถี่ 100 Hz หรือ 120 Hz (เช่นแสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์) และการกะพริบที่มีความถี่สูงกว่า 100 Hz หรือ 120 Hz (เช่นแสงไฟ LED) |
- *1 ยิ่งท่านตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น จะยิ่งมีความแตกต่างระหว่างบนจอภาพก่อนการถ่ายและภาพที่บันทึกได้มากไปด้วย ตรวจสอบให้มั่นใจถึงผลกระทบของการกะพริบว่ามีการลดลงในภาพที่บันทึกได้
- *2 แม้จะตั้ง การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) ไว้ที่ เปิด (On) แล้ว แต่กล้องจะไม่สามารถตรวจพบการกะพริบที่มีความถี่อื่นนอกเหนือจาก 100 Hz หรือ 120 Hz ได้
รายละเอียดเกี่ยวกับ การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) และ Var. Shutter จะมีอยู่ที่ด้านล่าง กรุณาทำความเข้าใจกับคุณลักษณะของแต่ละอัน และลองทำการตั้งค่าที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการตั้งค่าในภาพถ่ายของท่าน
การใช้ฟังก์ชัน การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) เมื่อทำการถ่ายภาพนิ่ง
ภายใต้แสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์ที่กะพริบที่ 100 Hz หรือ 120 Hz ท่านสามารถถ่ายภาพที่มีการลดเอฟเฟกต์ของการกะพริบได้ จากการใช้งานม่านชัตเตอร์ที่ความเร็วถูกต้อง เนื่องจากแสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์นี้จะยังคงสว่างต่ออีกเล็กน้อย ซึ่งนานกว่าช่วงของการเคลื่อนที่ของช่องม่านชัตเตอร์แบบกลไก (หรือช่วงระยะเวลาการทำงานของชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ ILCE-1)
ฟังก์ชันนี้ใช้สำหรับการปรับแต่งอัตโนมัติ เมื่อใช้กล้องที่ถ่ายด้วยการถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot)
ความแตกต่างในความเร็วของการเคลื่อนที่ของช่องม่าน
กล้องสามารถจะใช้ฟังก์ชันการถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) ได้เมื่อถ่ายด้วยชัตเตอร์แบบกลไก สำหรับ ILCE-1 ยังมีการถ่ายภาพด้วยชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
กล้องเลนส์แบบเปลี่ยนได้จะมีชัตเตอร์ให้สองแบบ: ชัตเตอร์แบบกลไก และชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ละอันจะทำการเคลื่อนช่องม่านที่ความเร็วต่างกัน การพยายามใช้การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) กับชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ในรุ่นอื่นที่ไม่ใช่ ILCE-1 จะไม่ได้ผล เนื่องจากการเคลื่อนที่ของช่องม่านนี้จะช้ากว่า แม้จะเป็นตอนที่เริ่มต้นเคลื่อนที่ของชัตเตอร์ ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงช่วงมืดของการกะพริบของแสงไฟฟลูออเรสเซนต์ได้
ชัตเตอร์แบบกลไก (Mechanical Shutter) | ความเร็วของการเคลื่อนที่ของช่องม่าน: เร็ว (เคลื่อนที่ประมาณ 4 มิลลิวินาที) การสั่น/เสียง: เกิดขึ้น |
---|---|
ชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (ชัตเตอร์แบบปิดเสียง) |
ความเร็วของการเคลื่อนที่ของช่องม่าน: ช้า (ยกเว้น ILCE-1) (เคลื่อนที่ได้หลายสิบมิลลิวินาที) การสั่น/เสียง: ไม่มี |
การระบุชนิดหนึ่งว่าเป็น ชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shutter) อาจจะดูเหมือนกว่าการเคลื่อนที่จะรวดเร็วกว่า แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
การเคลื่อนที่จากม่านด้านหน้าและด้านหลังของชัตเตอร์แบบกลไก (Mechanical Shutter) จะเร็ว เนื่องจากทำหน้าที่เป็นเพียงตัวปิดกั้นแสงไม่ให้ผ่าน ในทางกลับกันชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shutter) จะรีเซ็ตหนึ่งเส้นของเซนเซอร์ภาพต่อจากเส้นอื่น เพื่อให้ได้เป็นการเคลื่อนที่ของม่านด้านหน้า หลังจากการทำหน้าที่ของม่านด้านหลังแล้ว โดยการอ่านข้อมูลออกมาทีละเส้น จากการอ่านข้อมูลที่ใช้เวลานี้ จะต้องใช้เวลาหลายสิบมิลลิวินาทีในการอ่านเซนเซอร์ภาพทั้งหมดทีละเส้น
ด้วยเหตุผลนี้ การเคลื่อนที่ของช่องม่านจากชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shutter) จึงใช้เวลายาวนานกว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับ ILCE-1 การเคลื่อนที่ของช่องม่านของชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Shutter) จะมีความเร็วเท่ากับของชัตเตอร์แบบกลไก (Mechanical Shutter)
รูปภาพแสดงแนวคิดของฟังก์ชัน การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) สำหรับภาพนิ่ง
- A: ความถี่การกะพริบ (100 Hz = 1/100 วินาที 120 Hz = 1/120 วินาที)
- B: จังหวะของแสงไฟสว่าง
- C: จังหวะของแสงไฟมืด
- D: ในการถ่ายภาพปกติ เมื่อชัตเตอร์ทำงานในสภาวะที่แสงไฟมืด จังหวะรับแสงจะแตกต่างกันระหว่างด้านบน และด้านล่างของหน้าจอ เป็นผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในความสว่างและสีระหว่างด้านบน และด้านล่างของรูปภาพที่ถ่ายได้
- E: ด้วยการถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) กล้องจะตรวจพบการกะพริบ และชัตเตอร์จะทำงานในจังหวะที่แสงไฟสว่างพอดี ทำให้ได้ผลลัพธ์ในการถ่ายภาพที่ดีกว่า
การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) จะมีผลเฉพาะภายใต้แสงไฟที่มีการกะพริบที่ 100 หรือ 120 Hz เช่นแสงฟลูออเรสเซ็นต์
เนื่องจากแหล่งกำเนิดแสงไฟ LED มีการกะพริบที่หลายร้อยถึงหลายพัน Hz – เป็นช่วงเวลาที่เร็วกว่าการเคลื่อนที่ของชัตเตอร์ที่ 4 มิลลิวินาที – ช่องม่านจึงไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ทันจากขอบด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งในระหว่างที่แสงไฟสว่างนี้ แม้ว่ากล้องจะสามารถตรวจพบจังหวะของการกะพริบได้ก็ตาม ด้วยเหตุผลนี้ ฟังก์ชันนี้จึงใช้ลดปัญหาจากการกะพริบนี้ไม่ได้
- วิดีโอแสดงแนวคิดของกรณีที่มีการใช้การถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) ภายใต้แสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์
การเคลื่อนที่ของชัตเตอร์เกิดขึ้นระหว่างช่วง (วงรอบ) เมื่อแสงไฟฟลูออเรสเซ็นต์สว่าง ทำให้ฟังก์ชันนี้มีผลเมื่อถ่ายภายใต้แสงไฟนี้
- วิดีโอแสดงแนวคิดของกรณีที่มีการถ่ายภาพแบบป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Shoot) ภายใต้แสงไฟ LED
จังหวะการกะพริบจะเร็วกว่าจังหวะการเคลื่อนที่ใด ๆ ของชัตเตอร์ จึงทำให้รูปภาพมีแถบเกิดขึ้น
การถ่ายฟังก์ชัน Var. Shutter เมื่อถ่ายภาพนิ่งหรือภาพยนตร์
บางโอกาสท่านอาจจะอยากถ่ายภาพแบบเงียบ ๆ (ด้วยชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์) ในงานแสดงบนเวที ภายใต้แสงไฟ LED หรือท่านอาจจะต้องการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงสำหรับงานแข่งขันกีฬาในสถานที่ใช้แสงไฟ และป้ายไฟ LED ในกรณีเหล่านี้ ฟังก์ชันชัตเตอร์ความละเอียดสูงอาจจะช่วยลดผลกระทบของการกะพริบได้
ฟังก์ชันนี้จะลดปัญหาการกะพริบ โดยการปรับความเร็วชัตเตอร์ให้พอดีกับรอบการกะพริบ
ในขณะที่การเพิ่มตามธรรมดาในการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ (1/3 หรือ 1/2 ขั้น) จะเป็นการยากที่จะทำให้ตรงกับรอบการกะพริบได้ ฟังก์ชันนี้จะทำให้สามารถปรับแต่งความเร็วชัตเตอร์ได้ละเอียดขึ้น เพื่อให้ตรงกับรอบนั้นพอดี และช่วยลดปัญหาการกะพริบลงได้
ทำไมการปรับความถี่การกะพริบ และความเร็วชัตเตอร์ให้ตรงกัน จึงลดผลกระทบของการกะพริบได้
รูปต่อไปนี้จะแสดงวิธีการสร้างรูปภาพบนเซนเซอร์ภาพ ที่ได้มาทีละน้อยตามการเคลื่อนที่ของชัตเตอร์
- A: ขอบด้านบนของหน้าจอ
- B: ขอบด้านล่างของหน้าจอ
- C: เส้นทางของม่านด้านหน้า
- D: เส้นทางของม่านด้านหลัง
- E: ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)
- F: เวลา
การรับแสงจะเกิดขึ้นทีละน้อย เริ่มที่ขอบบนสุดของรูปภาพ แสดงให้เห็นว่าการรับแสงเกิดขึ้นทีหลังสำหรับขอบล่างสุดของรูปภาพ
มาดูในรูปถัดไป ที่แสดงการกะพริบจากการเคลื่อนที่ของชัตเตอร์
หมายเหตุ: เส้นเวลาที่ลากตามแนวนอน โดยที่การกะพริบของแหล่งกำเนิดแสงไฟจะแสดงเป็นแถบทางแนวตั้ง
- เมื่อความเร็วชัตเตอร์นี้ ไม่ตรงกับรอบการกะพริบ
- รูปภาพแสดงการกะพริบที่ซ้อนทับบนภาพของการเคลื่อนที่ของช่องม่านชัตเตอร์
- A: ขอบด้านบนของหน้าจอ
- B: ขอบด้านล่างของหน้าจอ
- C: ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)
- D: เวลา
- E: ภาพตัวอย่าง
- ตัวอย่าง: รูปภาพแสดงว่าแถบคาดปรากฏในการถ่ายภาพที่ได้ แสดงให้เห็นว่าจะเห็นบนจอภาพหรือไม่
หน้าจอ
ภาพนิ่งที่ถ่ายได้
- รูปภาพแสดงการกะพริบที่ซ้อนทับบนภาพของการเคลื่อนที่ของช่องม่านชัตเตอร์
- เมื่อปรับความเร็วชัตเตอร์นี้ให้ตรงกับรอบการกะพริบ
- รูปภาพแสดงการกะพริบที่ซ้อนทับบนภาพของการเคลื่อนที่ของช่องม่านชัตเตอร์
- A: ขอบด้านบนของหน้าจอ
- B: ขอบด้านล่างของหน้าจอ
- C: ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)
- D: เวลา
- E: ภาพตัวอย่าง
- ตัวอย่าง: รูปภาพแสดงว่าแถบคาดไม่ปรากฏในการถ่ายภาพที่ได้ ว่าจะเห็นบนจอภาพหรือไม่
หน้าจอ
ภาพนิ่งที่ถ่ายได้
- รูปภาพแสดงการกะพริบที่ซ้อนทับบนภาพของการเคลื่อนที่ของช่องม่านชัตเตอร์
การลดผลกระทบของการกะพริบโดยใช้ฟังก์ชัน Var.Shutter
ทำตามขั้นตอนด้านล่างเพื่อลดเอฟเฟกต์ของการกะพริบโดยใช้ฟังก์ชัน Var.Shutter
ขั้นที่ 1 ตั้ง Var. Shutter ไปเป็น เปิด (On) และตรวจดูเอฟเฟกต์ของการกะพริบ
ตั้งกล้องดังนี้ และถ้าหากเอฟเฟกต์ของการกะพริบปรากฏในหน้าจอ Var. Shutter Set. กรุณาทำการปรับแต่งอย่างละเอียดความเร็วชัตเตอร์ความละเอียดสูงเพื่อลดเอฟเฟกต์นี้ลง
หมายเหตุ: แม้จะเป็นตอนที่ Var. Shutter ตั้งไว้ที่ เปิด (On) เนื่องจากเป็นการยากที่ตรวจดูเอฟเฟกต์ของการกะพริบ เราแนะนำให้ลองทำการถ่ายภาพและตรวจสอบดูเป็นการล่วงหน้า
- กำหนดค่ากล้อง
เมื่อใช้ ILCE-9M2
หมายเหตุ: สำหรับ ILCE-9M2 ฟังก์ชันนี้สามารถจะใช้ได้เมื่อซอฟต์แวร์ระบบ (เฟิร์มแวร์) เป็น Ver. 2.00 หรือที่ใหม่กว่าเมื่อใช้ ILCE-1, ILCE-7M4, ILCE-7RM5, ILCE-7CM2, ILCE-7CR หรือ ILCE-6700
- ตั้งค่าโหมดเปิดรับแสงไปที่ S (กำหนดความเร็วชัตเตอร์เอง (Shutter Priority)) หรือ M (ปรับการรับแสงเอง (Manual Exposure))
- ปรับความเร็วชัตเตอร์ไปเป็นการตั้งค่าที่ต้องการ
- ปรับโฟกัสบนวัตถุ
- เมนู (Menu) → (การตั้งค่ากล้อง1 (Camera Settings1) → การกะพริบความถี่สูง (Hi Frequency Flicker) → Var. Shutter → เปิด (On)
- เมนู (Menu) → (การตั้งค่ากล้อง1 (Camera Settings1) → การกะพริบความถี่สูง (Hi Frequency Flicker) → Var. Shutter Set.
- ตั้ง โหมดเปิดรับแสงไปที่ S (กำหนดความเร็วชัตเตอร์เอง (Shutter Priority)), M (ปรับการรับแสงเอง (Manual Exposure)) หรือ Flexible Exp. Mode
- ปรับความเร็วชัตเตอร์ไปเป็นการตั้งค่าที่ต้องการ
- ปรับโฟกัสบนวัตถุ
- เมนู (Menu) → (การถ่ายภาพ (Shooting)) หรือ (การถ่ายภาพ (Shooting)) → ชัตเตอร์ (Shutter)/เงียบ (Silent) → ตั้งค่าการป้องกันการกะพริบ (Anti-Fflicker Set.) → Var. Shutter→ เปิด (On)
- เมนู (Menu) → (การถ่ายภาพ (Shooting)) หรือ (การถ่ายภาพ (Shooting)) → ชัตเตอร์ (Shutter)/เงียบ (Silent) → ตั้งค่าการป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Set.) → ตั้งค่า Var. Shutter (Var. Shutter Set.)
- ตั้งค่าโหมดเปิดรับแสงไปที่ S (กำหนดความเร็วชัตเตอร์เอง (Shutter Priority)) หรือ M (ปรับการรับแสงเอง (Manual Exposure))
- ปรับความเร็วชัตเตอร์ไปเป็นการตั้งค่าที่ต้องการ
- ปรับโฟกัสบนวัตถุ
- เมนู (Menu) → (การถ่ายภาพ (Shooting)) → ชัตเตอร์ (Shutter)/เงียบ (Silent) → ตั้งค่าการป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Set.) → Var. Shutter→ เปิด (On)
- เมนู (Menu) → (การถ่ายภาพ (Shooting)) → ชัตเตอร์ (Shutter)/เงียบ (Silent) → ตั้งค่าการป้องกันการกะพริบ (Anti-Flicker Set.) → ตั้งค่า Var. Shutter (Var. Shutter Set.)
- ตรวจดูจอภาพสำหรับปัญหาการกะพริบ (แถบคาด) ที่เกิดจากแสงไฟ LED
ตัวอย่าง:
ท่านสามารถตรวจดูเอฟเฟกต์ของการกะพริบที่เห็นเป็นแถบคาดได้ในวิดีโอด้านล่าง ในวิดีโอนี้ใช้ ILCE-9M2 สำหรับการอธิบาย
Tip: Tìm hiểu cách bật hoặc tắt phụ đề khi xem video trên Internet từ YouTube
ขั้นที่ 2 ปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ความละเอียดสูงเพื่อลดเอฟเฟกต์ของการกะพริบ
ความเร็วชัตเตอร์ที่มีการกะพริบน้อยกว่าสามารถจะเลือกได้แบบอัตโนมัติหรือตั้งค่าเอง
- การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ (ในกล้องที่รองรับฟังก์ชันการตั้งค่าอัตโนมัติ)
กดที่ตรงกลางของวงล้อควบคุมเพื่อทำการเลือกความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ โดยที่การกะพริบนี้มีน้อยกว่า - การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ด้วยตนเอง
เมื่อใช้ ILCE-1, ILCE-7M4, ILCE-7RM5, ILCE-9M2, ILCE-7CM2, ILCE-7CR หรือ ILCE-6700
บนหน้าจอ ตั้งค่า Var. Shutter (Var. Shutter Set.) ท่านสามารถปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ด้วยวงล้อปุ่มหมุนด้านหน้าหรือด้านหลัง
เมื่อตั้ง Var. Shutter ไปที่ เปิด (On) ตัวเลขส่วนของความเร็วชัตเตอร์จะแสดงเป็นเลขทศนิยม (แสดงถึงการปรับแบบละเอียด)- ปุ่มหมุนด้านหลัง (Tv):
- หมุนปุ่มหมุนด้านหลังเพื่อทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ไปเป็นการตั้งค่าเหล่านี้: 250.6→253.3→256.0→258.8 (ค่าที่เป็นจริงอาจจะแตกต่างได้)
- ปุ่มหมุนด้านหน้า (Tv STEP):
- หมุนปุ่มหมุนด้านหน้าเพื่อทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ไปเป็นค่าตัวคูณจำนวนเต็มของค่าเริ่มแรกหรือ 1/[ตัวคูณจำนวนเต็ม] ตัวอย่าง: 125.3 (คูณ 1/2) ← 250.6 → 501.3 (คูณ 2) (ค่าที่เป็นจริงอาจจะแตกต่างได้)
- วงล้อควบคุม:
- หมุนวงล้อควบคุมเพื่อทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ไปเป็นค่าที่ตั้งไว้โดยใช้แป้นปรับที่กำหนดให้กับ Tv
- วงล้อควบคุมขึ้น/ลง:
- กดค้างที่วงล้อควบคุมเพื่อทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ให้รวดเร็วขึ้น
- การปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์
ทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ต่อไป ด้วยปุ่มหมุนด้านหลัง (Tv) หรือวงล้อควบคุม เพื่อทำการลดหรือเพิ่มความเร็วนี้ จนกระทั่งเอฟเฟกต์ของการกะพริบสังเกตได้น้อยลง - การปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์โดยการเปลี่ยนตัวคูณจำนวนเต็มของค่าเริ่มแรก
ถ้าหากเอฟเฟกต์ของการกะพริบยังคงสังเกตเห็นได้แม้จะทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์แล้ว กรุณาลองทำการปรับปุ่มหมุนด้านหน้า (Tv STEP) เพื่อลดการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ลง
หลังการลดการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ด้วยปุ่มหมุนด้านหน้า (Tv STEP) แล้ว กรุณาทำการปรับแบบละเอียดความเร็วต่อไปจนกระทั่งเอฟเฟกต์ของการกะพริบสังเกตได้น้อยลง
บนหน้าจอ ตั้งค่า Var. Shutter (Var. Shutter Set.) ท่านสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์แบบละเอียดด้วยปุ่มหมุนควบคุมหรือวงล้อควบคุม
เมื่อตั้ง Var. Shutter ไปที่ เปิด (On) ตัวเลขส่วนของความเร็วชัตเตอร์จะแสดงเป็นเลขทศนิยม (แสดงถึงการปรับแบบละเอียด)- ปุ่มหมุนควบคุม (Control dial) (Tv):
- หมุนปุ่มหมุนควบคุมเพื่อทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ไปเป็นการตั้งค่าเหล่านี้: 250.6→253.3→256.0→258.8 (ค่าที่เป็นจริงอาจจะแตกต่างได้)
- วงล้อควบคุม (Control wheel) (Tv STEP):
- หมุนวงล้อควบคุมเพื่อทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ไปเป็นค่าตัวคูณจำนวนเต็มของค่าเริ่มแรกหรือ 1/[ตัวคูณจำนวนเต็ม] ตัวอย่าง: 125.3 (คูณ 1/2) ← 250.6 → 501.3 (คูณ 2) (ค่าที่เป็นจริงอาจจะแตกต่างได้)
- วงล้อควบคุมขึ้น/ลง:
- กดค้างที่วงล้อควบคุมเพื่อทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ให้รวดเร็วขึ้น
- การปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์
ทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ต่อไป ด้วยปุ่มหมุนควบคุม (Tv) เพื่อลดหรือเพิ่มความเร็วนี้ จนกระทั่งเอฟเฟกต์ของการกะพริบสังเกตได้น้อยลง - การปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์โดยการเปลี่ยนตัวคูณจำนวนเต็มของค่าเริ่มแรก
ถ้าหากเอฟเฟกต์ของการกะพริบยังคงสังเกตเห็นได้แม้จะทำการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์แล้ว กรุณาลองทำการปรับวงล้อควบคุม (Tv STEP) เพื่อลดความเร็วชัตเตอร์ที่ปรับแบบละเอียดไว้นั้นลง
หลังการลดการปรับแบบละเอียดความเร็วชัตเตอร์ด้วยวงล้อควบคุม (Tv STEP) แล้ว กรุณาทำการปรับแบบละเอียดความเร็วต่อไปจนกระทั่งเอฟเฟกต์ของการกะพริบสังเกตได้น้อยลง
หมายเหตุ: หน้าจอของกล้องจาก ILCE-9M2ความเร็วชัตเตอร์ไม่ตรงกับรอบการกะพริบ ส่งผลให้มีแถบคาดที่เกิดจากแสงไฟ LED ทำให้มองเห็นได้บนหน้าจอ
เมื่อความเร็วชัตเตอร์ถูกปรับ รูปลักษณ์ของแถบคาดจะเปลี่ยนไป
เมื่อความเร็วชัตเตอร์ตรงกับรอบการกะพริบ แถบคาดที่เกิดจากแสงไฟ LED จะมองไม่เห็นอีกต่อไป
Tip: Tìm hiểu cách bật hoặc tắt phụ đề khi xem video trên Internet từ YouTube
- ถ่ายภาพ
กดปุ่มชัตเตอร์เพื่อทำการถ่ายภาพ
โปรดยอมรับคุกกี้ของ Youtube เพื่อรับชมวิดีโอนี้
เข้าถึงการกำหนดค่าคุกกี้ที่ด้านล่างและตรวจสอบให้แน่ใจว่าเปิดคุกกี้ของ Youtube แล้วในส่วน “การทำงาน”
บทความที่เกี่ยวข้อง
ลงทะเบียน My Sony
ลูกค้าลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิประโยชน์
ตรวจสอบสถานะการซ่อม
ตรวจสอบว่าเครื่องซ่อมเสร็จหรือยัง
การซ่อมและการรับประกัน
การจอง หรือ เงื่อนไขการประกัน
ติดต่อเรา
ติดต่อทีมสนับสนุน