การบันทึกภาพยนตร์เบื้่องต้น

    แนวคิดและหลักการบางอย่างในการบันทึก ภาพยนตร์ (Movie) เป็นสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากการถ่ายภาพนิ่ง เมื่อท่านเข้าใจในวิดีโอและภาพยนตร์แตกต่างจากภาพนิ่งอย่างไร ท่านก็จะเข้าไปใกล้การบันทึกภาพยนตร์ตามแบบของท่านเองอีกก้าวหนึ่งแล้ว

    อัตราเฟรม (Frame Rate)

    ภาพยนตร์ประกอบด้วยภาพนิ่งที่ต่อเนื่องกัน เหมือนกับสุมดดีด (Flip-books) หรือ ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ (Animation) วัตถุในวิดีโอจะมีชีวิตขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงที่แยบยลจากรูปหนึ่งไปยังในรูปถัดดไป

    จำนวนของรูปภาพหรือ เฟรม (Frames) ต่อวินาที (fps) เรียกว่า อัตราเฟรม (Frame rate)

    รูปภาพแสดงเฟรม (Frame) (A) และจำนวนของเฟรมต่อวินาที หรือ อัตราเฟรม (Frame Rate (B)

    • A: เฟรม (Frame)
    • B: จำนวนเฟรมต่อวินาทีหรือ อัตราเฟรม (Frame Rate)

    ตัวอย่าง ทีวีที่ส่งออกอากาศเช่นทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน (Digital terrestrial TV) โดยทั่วไปจะบันทึกไว้ที่ 30 fps และ ภาพยนตร์จะเป็น 24 fps ยิ่งค่า fps นี้สูงขึ้น วิดีโอก็จะยิ่งมีความราบรื่นและเป็นธรรมชาติมากขึ้น
    ในการบันทึกวิดิโอ กล้องจะต้องบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่ที่เร็วมากกว่ามากเมื่อเทียบกับการถ่ายภาพ จึงเป็นความคิดที่ดีที่จะใช้ การ์ดหน่วยความจำความจุสูงที่รองรับมาตรฐานการถ่ายโอนความเร็วสูง

    หมายเหตุ: กับการ์ดหน่วยความจำบางอย่าง ท่านอาจจะไม่สามารถทำการบันทึกภาพยนตร์ได้ เนื่องจากการ์ดนั้นไม่เป็นไปตาม มาตรฐานเหล่านี้

    การควบคุมช่องรับแสง (Exposure control)

    การตั้งค่ารับแสง (Exposure) ทำการควบคุมจำนวนของแสงที่จะเข้าในกล้อง ปัจจัยสำคัญนี้จะส่งผลต่อการแก้ไขและการตบแต่งรูปภาพที่ได้ จากความสมดุลของ รูรับแสง (Aperture) (F-number หรือ F below) ,ความไว ISO (Sensitivity), และ ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) (SS), ที่ประกอบเป็นการรับแสง ท่านจะสามารถปรับเปลี่ยนการปรากฎและอารมย์ในภาพยนตร์ของท่านได้

    การถ่ายภาพนิ่ง

    • 1: จำนวนของโบเก้
    • 2: ความสว่าง (Brightness)
    • 3: เวลาที่ชัตเตอร์เปิด

    ปัจจัยทั้งสามโดยปกติท่านจะสามารถควบคุมได้ เมื่อทำการถ่ายภาพ (ภาพนิ่ง)

    การบันทึกภาพยนตร์

    แต่สำหรับวิดีโอ ความเร็วชัตเตอร์ปกติจะ คงที่ไว้ ท่านจะ ควบคุมการรับแสงผ่านตัวแปรอื่น—รูรับแสง (Aperture) และ ความไว ISO (Sensitivity)
    ในกรณีนี้ การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์จะกำหนดโดยอัตราเฟรมที่อธิบายไว้ข้างต้น ต่อไปนี้เป็นแนวทางพิเศษสำหรับวิดีโอ: เลือก ความเร็วชัตเตอร์ที่มีหน่วยเป็นเศษส่วนของวินาที ที่เป็น 1 ส่วนตัวหารที่เทียบเท่ากับสองเท่าของอัตราเฟรม ในกรณีที่ไม่มีความเร็วชัตเตอร์ตรงกับค่านี้พอดี ให้เลือกค่าที่ใกล้เคียงที่สุด

    อัตราเฟรม (Frame Rate) ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed)
    24p 1/50 วินาที
    30p 1/60 วินาที
    60p 1/125 วินาที
    120p 1/250 วินาที

    ดังนั้น สำหรับอัตราเฟรมของ 24p, ความเร็วชัตเตอร์จะต้องเป็น 1/50, หรือสำหรับ 30p, ความเร็วชัตเตอร์จะต้องเป็น 1/60, และเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ

    หมายเหตุ:
    • การตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์และอื่น ๆ จะแตกต่างกันมากระหว่างภาพนิ่งและภาพยนตร์ ให้ระวังเมื่อใช้กล้องเดียวกันถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์
    • ในกล้องที่มีคุณสมบัติ Memory recall, ท่านสามารถ ลงทะเบียน การตั้งค่าต่างหากให้สำหรับ ภาพนิ่ง (Still images) และ ภาพยนตร์ (Movies) ไว้ล่วงหน้าได้เพื่อจะเรียกใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ
      รูปภาพแป้นปรับโหมดของ ILCE-7M3
      แม้ว่าจะมีการตั้งค่าแยกไว้สำหรับภาพนิ่งและภาพยนตร์ ท่านสามารถเรียกใช้การตั้งค่าเหล่านี้ได้ง่าย ๆ ด้วยแป้นปรับโหมด (Mode dial) (อันนี้แสดงของ ILCE-7M3)

    วัตถุพร่ามัว (โมชั่นเบลอ)

    ช่างภาพที่เข้าใจดีส่วนใหญ่จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/50 หรือ 1/60 วินาทีที่ค่อนข้างจะช้า แต่เป็นความเร็วในอุดมคติสำหรับการบันทึกภาพยนตร์ ยังมีเหตุผลที่ดีสำหรับเรื่องนั้นอีก
    ในการถ่ายภาพโมเมนต์สำหรับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เร็ว ช่างภาพมักจะถ่าย ภาพนิ่ง ให้หยุดนิ่งได้โดยไม่มีการเบลอใด ๆ ที่ความเร็วชัตเตอร์สูง
    ส่วนการเคลื่อนไหวที่ราบรื่นใน ภาพยนตร์, ที่การเคลื่อนไหวบางอันก็ต้องการให้มีการเบลอ แนวคิดพื้นฐานก็คือตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ ที่พอดีกับจำนวนของการเบลอ

    • 1/1000 วินาที
      ภาพที่ถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ 1/1000 วินาที
    • 1/60 วินาที
      ภาพที่ถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที

    เมื่อดูในแต่ละเฟรม ภาพที่ถ่ายที่ 1/1000 วินาทีจะดูชัดเจนกว่าภาพที่เบลอที่ถ่ายที่ 1/60 วินาที, แต่ในการเล่นภาพยนตร์ ภาพแรกจะดูเป็นคลื่นในขณะที่ ภาพหลังจกดูเป็นธรรมชาติมากกว่า

    การหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากการกะพริบของไฟส่องสว่าง

    การกะพริบของแสงไฟเมื่อท่านบันทึกในอาคารหรือตอนกลางคืนอาจจะทำให้เกิดเป็นแถบทางแนวนอนหรือสีซีดในบางส่วนในภาพยนตร์ของท่าน แสงส่องสว่างจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์และแหล่งกำเนิดแสงอื่น ๆ จะดูเหมือนคงที่ แต่ในความเป็นจริงจะมีการกะพริบซ้ำ ๆ กันที่ความเร็วสูง ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อการกะพริบนี้ไม่สอดคล้องกับการทำงานของชัตเตอร์กล้อง

    วงรอบของการกะพริบจะกำหนดจากความถี่ของแหล่งจ่ายไฟในภูมิภาค ดังนั้นการปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เข้ากับจังหวะของการกะพริบจึงสามารถป้องกันปัญหาต่าง ๆ ได้

    ความถี่ของพาวเวอร์ซัพพลาย ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed)
    50 Hz 1/50 วินาที่หรือ 1/100 วินาที
    60 Hz 1/60 วินาที่หรือ 1/125 วินาที
    ภาพที่ถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ 1/200 วินาที
    ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) 1/200s
    ภาพที่ถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ 1/50 วินาที
    ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) 1/50s