หมายเลข ID หัวข้อ : 00111992 / ปรับปรุงครั้งล่าสุด : 30/03/2018พิมพ์

ข้อแนะนำสำหรับการถ่ายภาพแอ็คชั่นที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว.

    เมื่อทำการถ่ายภาพโดยโหมดโฟกัสที่มีการตั้งไว้เป็น AF-A, ในบางครั้งกล้องอาจไม่โฟกัสเอาไว้ที่วัตถุที่มีการเคลื่อนที่ให้.


    มีหลายวิธีการสำหรับการถ่ายภาพแอ็คชั่นของวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็วต่าง ๆ. วิธีการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดของแอ็คชั่นที่ท่านกำลังทำการถ่ายและภาพที่ท่านต้องการจะให้ออกมา. การฝึกฝนและทักษะ, อีกทั้งเทคนิคในการถ่ายภาพและการปรับตั้งต่าง ๆ ของกล้อง. ต่างก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ได้ภาพออกมาตามที่ต้องการ.

    ท่านสามารถเลือกที่ Continuous Shooting จากตัวเลือกโหมด Drive ของกล้องหรือลองใช้โหมด Sports ในตัวเลือก Scene Selection ดู.

    ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำเพิ่มเติมต่าง ๆ ถ้าหากท่านต้องการจะทำการควบคุมกล้องด้วยตนเองจากการปรับตั้งต่าง ๆ:

    1. ถ้าเป็นไปได้, ให้ใช้เลนส์แบบรวดเร็ว (fast lens) - คือ เลนส์ที่มีรูเปิดรับแสงที่มีขนาดใหญ่ aperture .

      สำคัญ: เรื่องนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ถ้าหากเป็นการถ่ายภาพจากที่ห่างไกลและมีแสงน้อย. ถ้าหากมีแสงสว่างที่ไม่เพียงพอจะเป็นเรื่องที่ยากเข้าไปอีกในการถ่ายภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว. การมีช่องเปิดรับแสงที่กว้าง หมายถึง มีค่า f-stop ที่ 2.8 หรือดีกว่า ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการถ่ายภาพจากระยะไกลและมีแสงน้อย.

    2. ถ้าหากท่านสามารถเข้าไปใกล้กับวัตถุได้มากพอ, ให้ใช้ไฟแฟลชเข้าช่วย.
    3. เพิ่มการปรับตั้งของค่า ISO.
    4. ตั้งกล้องให้ไปเป็นโหมด Shutter Speed Priority (S).
    5. ทำการปรับแต่งความเร็วของชัตเตอร์.

      • ถ้าหากต้องการให้ภาพเคลื่อนไหวมีการหยุดนิ่ง, ให้ใช้ความเร็วของชัตเตอร์ที่สูง ๆ (โดยทั่วไป, ค่าที่แนะนำจะมากกว่า 1/250 วินาที).
      • ถ้าต้องการให้ได้ภาพที่มีเอฟเฟคของความพร่ามัวเพื่อให้เห็นถึงการเคลื่อนไหว, ให้ใช้ความเร็วของชัตเตอร์ที่ต่ำลง (ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 1/50 และ 1/100).

      สำคัญ: ท่านอาจจำเป็นต้องทำการทดสอบดูก่อนด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ระดับต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการออกมา. ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่า วัตถุของท่านมีการเคลื่อนที่รวดเร็วขนาดไหน และอยู่ไกลออกไปเท่าใด, ท่านอาจต้องทำการปรับความเร็วของชัตเตอร์ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง.

    6. ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของวัตถุของท่าน, ให้เลือกการปรับตั้งของโฟกัสตามด้านล่างนี้.

      • ถ้าหากวัตถุที่เคลื่อนไหวนั้นมีการรักษาตำแหน่งในกล้องค่อนข้างคงที่, ให้ใช้ Automatic AF (AF-A).

        หมายเหตุ:
        • โหมด AF-A , กล้องจะทำการจำแนกให้เองว่า วัตถุมีการเคลื่อนไหวหรือไม่, และทำการสลับโหมด AF ระหว่าง Single-shot AF (AF-S) และ Continuous AF (AF-C) ให้เองด้วย.
        • เมื่อทำการถ่ายวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว โดยใช้โหมดโฟกัสเป็น AF-A, ในบางครั้ง โหมด AF จะไม่สามารถทำการสลับได้เร็วพอและกล้องอาจจะไม่สามารถทำกรโฟกัสต่อเนื่องบนวัตถุที่เคลื่อนที่นั้นได้. ในกรณีเช่นนี้, แนะนำให้ใช้เป็น AF-C.

      • ถ้าหากวัตถุมีการเคลื่อนที่ข้ามฟากของมุมมองของกล้อง, ให้ตั้งโหมดการโฟกัสอัตโนมัติไปที่ AF-C.

        หมายเหตุ: เมื่อใช้ AF-C, กล้องจะทำการโฟกัสต่อเนื่องในระหว่างที่มีการกดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้ครึ่งทาง. เมื่อท่านพร้อมที่จะทำการถ่าย, ให้กดปุ่มชัตเตอร์ลงไปเต็มที่.

      • ถ้าหากวัตถุปรากฏเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของกรอบภาพ (ประมาณ 15%) และมีการเคลื่อนที่รวดเร็วเกินไปที่การโฟกัสอัตโนมัติจะล็อคได้ , ให้พิจารณาทำการเลือกเป็น Manual Focus (MF) ซึ่งท่านจะสามารถทำการควบคุมการโฟกัสได้ด้วยตนเอง.
    7. ถ้าหากท่านใช้เลนส์ที่มีอัตราการขยายสูง, ให้ทำการติดตั้งกล้องไว้บนขาตั้งกล้องแบบสามขาหรือขาเดี่ยว เพื่อให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ถ้าจำเป็น.

    ถ้าหากต้องการรายละเอียดเฉพาะรุ่นเพื่อใช้ประกอบในการทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ข้างต้น , ให้อ้างอิงกับคู่มือใช้งานที่จัดมาให้พร้อมกับตัวเครื่องนั้น.

    อ่านเรื่อง การถ่ายภาพเคลื่อนไหว สำหรับคำแนะนำและตัวอย่างเพิ่มเติม.