การตั้งค่าบันทึกภาพยนตร์ที่สำคัญ

    การตั้งค่าที่แนะนำเหล่านี้จะช่วยให้ท่านจัดเตรียมสำหรับการบันทึกภาพยนตร์ในกล้องดิจิทัลเลนส์แบบเปลี่ยนได้ α อ้างอิงกับข้อมูลนี้ใน การบันทึกภาพยนตร์ครั้งแรกของท่านด้วยกล้อง α ของท่าน
    ต่อไปนี้ เราจะอธิบายเหตุผลสำหรับการตั้งค่าแต่ละอันให้ด้วย การตั้งค่าอื่น ๆ ก็จะมีให้เช่นกันที่อาจจะเหมาะกับความต้องการของท่านหรือฉากที่ท่านกำลังบันทึก สำรวจตัวเลือกของท่านเพื่อหาค่าการตั้งค่าที่ท่านชอบ

    การตั้งค่า (Setting) ค่าที่แนะนำ
    รูปแบบไฟล์ XAVC S HD
    การตั้งค่าบันทึก (Record Setting) 30p 50M
    Shutter Speed 1/60 วินาที
    Exposure/ISO ISO AUTO
    รูรับแสง (Aperture) (F-number) ต่ำเท่าที่จะเป็นไปได้
    สมดุลแสงสีขาว (White Balance) (WB) AWB (เปลี่ยนได้ตามความจำเป็น)

    ความละเอียด (Resolution)

    สิ่งแรก ตัดสินใจเลือก ความละเอียด
    จากเมนู (MENU), เลือกที่ รูปแบบไฟล์ (File Format) และเลือก 4K (3840×2160) หรือ HD (1920×1080) ด้วย ความละเอียดที่สูงกว่า HD ถึงสี่เท่า, 4K จะให้ คุณภาพของภาพที่น่าประทับใจ แต่เนื่องจากจำนวนของข้อมูลก็จะสูงเป็นสี่เท่าด้วย, จึงทำให้มีเวลาในการบันทึกใน การ์ดหน่วยความจำน้อยลงไป และ คอมพิวเตอร์จะทำงานหนักขึ้นในการแก้ไขไฟล์เหล่านี้ สำหรับมือใหม่ ให้พิจารณาการบันทึกภาพยนตร์เรื่องแรกของท่านในความละเอียด HD , ที่จะง่ายต่อการทำงานแต่ยังคงมีคุณภาพของภาพที่ดีอยู่

    หมายเหตุ: ILCE-1 ก็จะมี ความละเอียด 8K (7680×4320) ให้ด้วยเช่นกัน

    อัตราเฟรม (Frame Rate)

    ต่อไป ตัดสินใจในเรื่อง อัตราเฟรม (Frame Rate) ใน การตั้งค่าบันทึก (Record Settings)
    เป็นจำนวนของภาพนิ่งที่แสดงต่อวินาทีของวิดีโอ อัตราเฟรมนี้สามารถจะตั้งไปเป็น 24p, 30p, 60p, 120p, หรือตัวเลือกอื่น ๆ (ขึ้นอยู่กับรุ่นนั้น ๆ) ในหน้าจอการตั้งค่าของกล้อง
    ยิ่งค่าสูงขึ้น, จำนวนเฟรมที่แสดงในจำนวนเวลาที่กำหนด ก็จะยิ่งได้ภาพที่แสดงออกมาราบรื่นมากยิ่งขึ้นไปด้วย เลือกอัตราเฟรมที่ท่านชอบเพื่อให้ดูเหมาะกับภาพยนตร์ที่จะออกมาว่าเป็นอย่างไร
    120p เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับสร้างภาพวิดีโอสโลว์โมชันที่ราบรื่น (ด้วย 24p จะได้ความช้าลงถึงห้าเท่าของความเร็วปกติ) ในภายหลังตอนที่ท่านแก้ไขภาพยนตร์ในคอมพิวเตอร์

    ค่าที่แนะนำบางค่า

    • การบันทึกภาพยนตร์เรื่องแรกของมือใหม่ควรจะพิจารณาลอง 30p หรือ 60p ในขั้นแรก ที่จะตรงกับอัตราเฟรมของทีวีทั่วไป บันทึกที่ 60p, และท่านจะสามารถสร้างวิดีโอสโลว์โมชันได้ช้าเป็นสองเท่าของความเร็วปกติโดยที่วิดีโอจะไม่ดูเป็นคลื่น หลังการแก้ไขในคอมพิวเตอร์และส่งออกเป็น 24p หรือ 30p
    • ถ้าหากท่านไม่ต้องการจะแก้ไขแต่ต้องการให้วิดีโอของท่านออกมาเป็นแบบภาพยนตร์ที่่ใช้ฟิล์มในตอนเล่น ให้ลองทำการบันทึกด้วยอัตราเฟรมของภาพยนตร์ทั่วไปที่ 24p
    • ถ้าต้องการบันทึกให้เหมือนภาพยนตร์ใช้ฟิล์ม ในขณะที่ยังมั่นใจได้ว่ายังแก้ไขได้อย่างอิสระสูงสุด ให้ใช้ 60p ในการแก้ไข วิธีการนี้ยังทำให้ท่านสามารถสร้าง สโลว์โมชันได้ช้าถึง 2.5 เท่าของความเร็วปกติจากการเลือกที่ 24p

    (ความเร็วชัตเตอร์) Shutter speed

    เมื่อท่านได้ตัดสินในในอัตราเฟรมได้แล้ว ให้ตั้ง ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) สำหรับใช้เป็นแนวทาง ให้เลือกความเร็วชัตเตอร์ที่มีหน่วยเป็นเศษส่วนของวินาที ที่เป็น 1 ส่วนตัวหารที่เทียบเท่ากับสองเท่าของอัตราเฟรม สำหรับอัตราเฟรมของ 30p, ควรจะมีความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 วินาที สังเกตว่า 60p และ 24p จะตรงกับ 1/120 วินาทีและ 1/48 วินาที, แต่เนื่องจากกล้องไม่ได้มีการตั้งค่าเหล่านี้ให้ จึงให้เลือกค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ใกล้เคียงที่สุดแทน เมื่อทำการถ่ายรูปในอาคาร ให้พิจารณาการกะพริบของแหล่งกำเนิดแสงไฟด้วย

    อัตราเฟรม (Frame Rate) ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed)
    30p 1/60 วินาที
    60p 1/125 วินาที
    24p 1/50 วินาที
    หมายเหตุ: การตั้งค่าที่ลดผลกระทบการกะพริบของไฟให้แสงสว่างในอาคาร
    • 50 Hz: 1/50 วินาที่หรือ 1/100 วินาที
    • 60 Hz : 1/60 วินาที่หรือ 1/125 วินาที

    รูรับแสง (Aperture) และ ความไว ISO (Sensitivity)

    หลังการตั้งค่าอัตราเฟรมและความเร็วชัตเตอร์ ให้ตั้งค่ารูรับแสง (Aperture) (F-number) และ ความไว ISO (Sensitivity)
    แม้ว่าการตั้งค่ารูรับแสงที่เหมาะสมจะแตกต่างไปตามเลนส์ ผู้คนจำนวนมากชอบที่จะสร้างภาพเบลอในพื้นหลังโดยการเลือกการตั้งค่าที่ใกล้กับค่ารูรับแสงที่มากที่สุด แต่เนื่องจาก ภาพยนตร์ของท่านจะสว่างเกินไปถ้าหากทำ การบันทึกในแสงแดด ใน สถานการณ์แบบนั้น ให้พิจารณาใช้ ฟิลเตอร์ ND (ND filter) ทำการปรับปริมาณของแสงที่เข้าไปในกล้อง
    ส่วนความไว ISO (Sensitivity), ยิ่งค่าต่ำลงจะยิ่งช่วยให้ท่านควบคุม สัญญาณรบกวนภาพได้ดี ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นที่ความไวแสง ISO สูงขึ้น ท่านยังสามารถลองใช้ออโต้ (AUTO) ในการบันทึกภาพยนตร์เรื่องแรกของท่านได้เช่นกัน

    สมดุลแสงสีขาว (White Balance)

    อบอุ่น (Warm) ภาพจะออกไปทางสีเหลืองในแสงไฟจากหลอดไฟแบบไส้
    ฉากจะดู อบอุ่น (Warm) ในแสงไฟจากหลอดไฟแบบไส้
    เย็น (Cool), ภาพจะออกไปทางสีน้ำเงินในแสงแดด
    ในแสงแดด ฉากจะดูเป็นแบบ เย็น (Cool)

    วัตถุใน ภาพยนตร์ของท่านจะได้รับผลกระทบจากแสงชนิดต่าง ๆ และคุณสมบัติเฉพาะตัวของแสงต่าง ๆ การปรับสมดุลแสงสีขาว (White Balance) จะชดเชยผลกระทบที่ไม่ต้องการของแสงในสภาวะแวดล้อมการถ่ายภาพเพื่อทำให้พื้นที่ที่เป็นสีขาวออกมาขาว มือใหม่ควรจะเริ่มต้นด้วยการปรับสมดุลแสงสีขาวแบบออโต้ (Auto white balance) (AWB).

    หมายเหตุ: การตั้งค่ากล้องไปเป็นการปรับสมดุลแสงสีขาวแบบออโต้ (Auto White Balance) (AWB) จะเป็นการปรับสีขาวให้เหมาะสมกับสภาพแสงโดยอัตโนมัติ กล้องจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเช่นก้อนเมฆที่ผ่านไป หรือถ้าหากท่านทำการบันทึกต่อเนื่องหลังจากเข้าไปในอาคาร แม้ว่าสิ่งนี้จะเป็นความสะดวกสบาย โปรดทราบว่าสีต่าง ๆ อาจจะแตกต่างไปจากฉากหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่งได้ ที่อาจจะดูเหมือนไม่ได้มีการตั้งค่าไว้เมื่อมีการรวมฉากเข้าด้วยกันในการแก้ไข เพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องนี้ ท่านควรจะทำการปรับสมดุลแสงสีขาว (White Balance) ให้เหมาะสมกับฉากหรือสถานการณ์ปัจจุบัน