เคล็ดลับในการถ่ายภาพ > จับของเล็กๆ มาเล่นบทบาทหลัก

    ระดับ: ผู้เริ่มต้น

    บทที่ 9จับของเล็กๆ มาเล่นบทบาทหลัก

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 30 มม. / F-number: 7.1 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/125 วินาที

    เพื่อขับเน้นคุณลักษณะ ความน่าประทับใจ หรือความน่ารักของสิ่งของเล็กๆ การโฟกัสวัตถุอย่างแม่นยำเพื่อให้มีความโดดเด่นในภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น บทนี้จะอธิบายเทคนิคในการถ่ายภาพสินค้าที่มีขนาดเล็ก และการถ่ายภาพบนโต๊ะเป็นหลัก
    ขั้นแรก ให้ตั้งค่ากล้องไปที่โหมด P ก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ

    กฎพื้นฐาน: เข้าใกล้วัตถุแล้วถ่ายภาพด้วยช่วงระยะไกล

    เมื่อถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดเล็กให้เป็นจุดสนใจ การทำให้ฉากหลังพร่ามัวจะช่วยขับเน้นวัตถุให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
    การถ่ายภาพวัตถุระยะใกล้โดยให้บริเวณอื่นๆ พร่ามัว มีกฎสำคัญคือ "เข้าใกล้วัตถุให้มากที่สุด" และ "ถ่ายภาพโดยใช้ช่วงระยะไกลของเลนส์ซูม (ด้วยความยาวโฟกัสด้านยาว)" ตามที่ได้อธิบายไว้ใน "1. ถ่ายภาพบุคคลอันน่าประทับใจโดยเน้นที่ตัวบุคคล" "8. จับภาพโลกระดับไมโคร" ฯลฯ แต่การถ่ายภาพให้มีวัตถุเต็มเฟรมอาจไม่ใช่วิธีที่ดีนักในการสื่อคุณลักษณะของสิ่งของขนาดเล็ก ในกรณีนี้ ให้ถ่ายภาพซ้ำๆ โดยขยับกล้องออกจากวัตถุทีละน้อย

    ภาพถ่ายนี้ถ่ายโดยใช้เลนส์ซูม "SEL1855" ซึ่งเป็นเลนส์ซูมเริ่มต้นที่รวมอยู่ใน NEX-F3 ความยาวโฟกัสถูกกำหนดไว้ในระยะไกลที่ 55 มม. เพื่อให้ฉากหลังพร่ามัว จากนั้นโฟกัสที่วัตถุขนาดเล็กและถ่ายภาพจากระดับเดียวกับวัตถุ แล้ววัตถุจะโดดเด่นออกมาจากฉากหลังที่พร่ามัว
    นอกจากนี้ เลนส์มาโครยังเหมาะกับการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็กอีกด้วย หากเทียบกับเลนส์ชนิดอื่นแล้ว เลนส์มาโครจะทำให้คุณเข้าใกล้กับวัตถุได้มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ คุณจึงถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก เช่น เครื่องประดับจำพวกแหวน สร้อยคอ หรือตุ้มหูในระยะใกล้ได้

    ภาพถ่าย

    เลนส์: SEL1855 / ความยาวโฟกัส: 55 มม. / F-number: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที

    จี้สร้อยคอนี้ถ่ายโดยใช้เลนส์มาโคร
    นอกจากความสามารถในการถ่ายภาพระยะใกล้แล้ว เลนส์มาโครยังมีข้อได้เปรียบที่ช่วยให้ช่างภาพเข้าใกล้กับวัตถุได้มากที่สุดอีกด้วย เลนส์มาโครจึงทำให้คุณมีความยืดหยุ่นในการปรับมุม จัดองค์ประกอบภาพ และขนาดของวัตถุได้แม้มีพื้นที่จำกัด เช่น การถ่ายภาพบนโต๊ะหรือในห้องขนาดเล็ก

    ภาพถ่าย

    เลนส์: SAL100M28 / ความยาวโฟกัส: 100 มม. / F-number: 7.1 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/13 วินาที

    ลองคำนึงถึงองค์ประกอบภาพ

    ควรใส่ใจเรื่ององค์ประกอบภาพก่อนที่จะกดชัตเตอร์
    ถ้าช่างภาพมือใหม่กดชัตเตอร์โดยไม่ไตร่ตรอง วัตถุหลักมักจะอยู่ที่กลางเฟรม การจัดวางองค์ประกอบจะช่วยให้แสดงพลังและธีมของวัตถุได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก การใช้พื้นที่ว่างเพื่อแสดงอารมณ์และลวดลายที่เป็นระเบียบในภาพถ่ายอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย
    การจัดองค์ประกอบแบบ "กฎสามส่วน" หรือการจัดองค์ประกอบแนวทแยงจึงเหมาะกับการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 100 มม. / F-number: 2.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที การจัดวางองค์ประกอบแบบ “กฎสามส่วน”

    นี่คือตัวอย่างของการจัดองค์ประกอบแบบ “กฎสามส่วน” การจัดองค์ประกอบภาพแบบ "กฎสามส่วน" ภาพจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน (แนวนอน 3 ส่วน × แนวตั้ง 3 ส่วน) และตัวแบบหลักจะอยู่ที่จุดตัดของเส้นแบ่งช่อง ในภาพด้านบน วัตถุหลักขนาดเล็กจะถูกจัดไว้ที่จุดตัดด้านขวาบน การที่วัตถุหลักอยู่ในตำแหน่งนี้จะทำให้ภาพดูมั่นคงยิ่งขึ้น และสร้างสมดุลระหว่างลวดลายของผ้าในพื้นที่ว่างได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ถ้าคุณใช้ “กฎสามส่วน” เพื่อจัดองค์ประกอบกับภาพถ่ายทุกภาพ ภาพของคุณอาจดูน่าเบื่อได้ คุณจึงควรใช้การจัดองค์ประกอบชนิดนี้เพื่ออ้างอิงในตอนที่ไม่ทราบว่าจะจัดองค์ประกอบอย่างไร

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 30 มม. / F-number: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/20 วินาที การจัดองค์ประกอบภาพในแนวทแยง

    การจัดองค์ประกอบที่แนะนำในการถ่ายภาพขนาดเล็กอีกชนิดหนึ่งคือ การจัดองค์ประกอบภาพในแนวทแยง ในภาพถ่ายด้านบน หากวัตถุหรือลวดลายอยู่ในแนวเดียวกันหรือมีลายทาง ให้ลองจัดภาพเป็นแนวทแยงเพื่อสร้างองค์ประกอบนี้ดู
    การจัดองค์ประกอบภาพในแนวทแยงจะช่วยเน้นย้ำลวดลายสัมผัสที่เป็นระเบียบและทำให้ผู้ชมจินตนาการถึงสิ่งที่อยู่นอกเฟรมได้

    ภาพถ่าย

    การจัดองค์ประกอบภาพในแนวทแยง
    ความยาวโฟกัส: 18 มม. / F-number: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/400 วินาที

    ภาพถ่ายนี้คือตัวอย่างของการจัดองค์ประกอบภาพในแนวทแยง มาการูนหลากสีถูกจัดเฟรมให้ดูมีลวดลายที่เป็นระเบียบ
    การจัดองค์ประกอบภาพในแนวทแยงอาจช่วยสร้างลวดลายและมุมมองที่เป็นระเบียบได้ แต่บางครั้งอาจทำให้ภาพดูไม่สมดุลและอึดอัดได้เช่นกัน แทนที่จะยึดติดกับการจัดองค์ประกอบภาพเพียงแบบเดียว ให้ลองใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบอื่นดู การถ่ายภาพมาการูนจากด้านบนช่วยสร้างภาพถ่ายให้ดูน่าสนได้ ดังที่แสดงในภาพตัวอย่างก่อนหน้านี้

    ลองใช้เลนส์มาโคร

    หากคุณถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็กหรือดอกไม้บ่อย เลนส์มาโครจะช่วยคุณสื่ออารมณ์ของภาพถ่ายได้อย่างมาก หากคุณลองใช้เลนส์มาโครเป็นครั้งแรก เราแนะนำให้ใช้เลนส์รุ่น "SEL30M35" สำหรับ E-เมาท์ เลนส์นี้มีมุมมองภาพที่ใช้งานสะดวกและมีประสิทธิภาพต่อราคาที่คุ้มค่า

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 90 มม. / F-number: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/3 วินาที

    เลนส์มาโคร E-เมาท์ระยะไกลระดับกลางตัวแรกที่มาพร้อมการป้องกันภาพสั่นไหวในตัวมอบคุณภาพเลนส์ G อันโดดเด่น ความละเอียดอันน่าทึ่งที่กำลังขยายสูงสุด 1:1 พร้อมโบเก้ฉากหลังอันงดงามเมื่อต้องการแม้เมื่อถ่ายภาพโดยใช้การถือด้วยมือ กลไกโฟกัสแบบ Floating ช่วยให้มั่นใจได้ว่าสามารถใช้ประสิทธิภาพออปติคอลขั้นสูงสุดในระยะทางการโฟกัสทั้งหมด

    ภาพถ่าย

    F-number: 2.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/200 วินาที

    ไพรม์เลนส์มาโคร "ปกติ" 50 มม. อเนกประสงค์สำหรับเซนเซอร์ฟูลเฟรมตัวนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในแต่ละวัน รวมถึงยังถ่ายภาพมาโคร 1:1 ได้อย่างน่าประทับใจ คุณสามารถเข้าใกล้ได้ถึง 6.3 นิ้วจากวัตถุ ขณะที่มุมมองภาพปกติสามารถรวมองค์ประกอบฉากหลังเพื่อเพิ่มอิสระในการสร้างสรรค์ภาพถ่าย สามารถปรับแต่งการควบคุมและการใช้งานเพื่อการถ่ายภาพระยะใกล้ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 30 มม. / F-number: 3.5 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที

    เลนส์นี้เป็นเลนส์มาโครอเนกประสงค์เปี่ยมประสิทธิภาพ ในขนาดกะทัดรัดและมีน้ำหนักเบา ช่วงการทำงานใกล้สุดที่ 2.4 ซม. พร้อมอัตราขยาย 1:1 ของเลนส์มาโครตัวนี้จะช่วยเผยรายละเอียดของวัตถุขนาดเล็กออกมาและให้คอนทราสที่ยอดเยี่ยม