เคล็ดลับในการถ่ายภาพ > ถ่ายภาพอาหารให้น่าอร่อย

    ระดับ: ผู้เริ่มต้น

    บทที่ 4ถ่ายภาพอาหารให้น่าอร่อย

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 46 มม. / F-number: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที / การชดเชยแสง: +1

    เมื่อคุณถ่ายภาพอาหาร ภาพถ่ายที่คุณต้องการนั้นจะต้องสื่อถึงความเอร็ดอร่อยของอาหารได้เด่นชัด
    การถ่ายภาพในลักษณะนี้จะต้องคำนึงถึงสีและความสว่าง เพื่อให้ภาพถ่ายของอาหารดูน่าทานเช่นเดียวกับที่ตาเห็น
    ขั้นแรก ให้ตั้งค่ากล้องไปที่โหมด P แล้วลองทำตามเทคนิคดังนี้

    สร้างสีสันตามแบบที่ต้องการ

    สีและความสว่างมีความสำคัญต่อความอร่อยของอาหารและของหวานที่ปรากฏในภาพถ่าย
    ขั้นแรก ให้ปรับสีด้วย สมดุลสีขาว สมดุลสีขาวคือฟังก์ชันที่ทำให้คุณปรับ “สีขาว” มาตรฐานได้ และยังใช้เป็นฟิลเตอร์สีในกล้องดิจิตอลได้อีกด้วย ขั้นแรก ให้ถ่ายภาพโดยใช้สมดุลสีขาวอัตโนมัติ [AWB] เพื่อดูว่าได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือไม่ จากนั้นให้ลอง [Daylight] หรือ [Cloudy] ตามที่จำเป็น หากยังไม่ได้สีสันที่น่าพอใจ ให้ลองใช้ฟังก์ชันปรับสมดุลสีขาวโดยละเอียดดู
    โดยทั่วไปแล้ว อาหารจะดูน่าทานยิ่งขึ้นเมื่อถ่ายภาพด้วยโทนสีอุ่น (เฉดสีแดง)

    ภาพถ่ายเหล่านี้ถ่ายโดยใช้สมดุลสีขาวที่ต่างกัน เมื่อถ่ายโดยใช้ [AWB] ภาพถ่าย [1] จึงดูขาวกว่าความเป็นจริงเนื่องจากแหล่งกำเนิดแสงภายในร้านอาหาร ภาพถ่าย [2] ถ่ายโดยใช้ [Daylight] โทนสีที่อุ่นกว่าทำให้อาหารในภาพถ่ายดูน่าทานยิ่งขึ้น

    ภาพถ่าย

    [1] สมดุลสีขาว: AWB [2] สมดุลสีขาว: แสงแดดกลางวัน

    ลองคำนึงถึงมุมของแสง

    มุมของแสงและความสว่างก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน อาหารจะดูน่าทานยิ่งขึ้นหากถ่ายภาพโดยใช้แสงสว่างจากด้านหลัง เมื่อถ่ายโดยใช้แสงสว่างจากด้านหน้า รูปทรงและสีสันของอาหารจะถูกเผยออกมาอย่างชัดเจน แต่เนื่องจากแสงไม่ทำให้เกิดเงาหรือส่องผ่านวัตถุ ภาพถ่ายที่ได้จึงขาดความลึกและไม่มีมิติ

    ภาพถ่าย [1] ถ่ายโดยใช้แสงสว่างจากด้านหน้า รูปทรงของขนมปังและผลไม้ถูกแสดงอย่างชัดเจน แต่ภาพนั้นขาดมิติเหมือนกับภาพถ่ายในบัตรประชาชน การยิงแฟลชใส่วัตถุจากด้านหน้าโดยตรงนั้นก็ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน
    ภาพถ่ายที่ [2] ถ่ายโดยใช้แสงสว่างจากด้านหลัง ขนมปังจึงดูมีมิติเนื่องจากเงาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ผลไม้และเครื่องดื่มยังดูมีน้ำมีนวลยิ่งขึ้นเนื่องจากมีแสงส่องทะลุ เพียงแค่เปลี่ยนมุมของแสงก็สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก

    ภาพถ่าย

    [1] ถ่ายโดยใช้แสงสว่างจากด้านหน้า [2] ถ่ายโดยใช้แสงสว่างจากด้านหลัง

    อย่างไรก็ตาม การถ่ายภาพโดยใช้แสงสว่างจากด้านหลังอาจทำให้แบบดูมืดกว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจากฉากหลังที่สว่าง หากเป็นเช่นนั้น ให้ใช้ฟังก์ชันการชดเชยแสง หากอาหารดูมืด ให้ปรับปริมาณแสงที่ได้รับไปในด้าน + เพื่อทำให้ภาพดูสว่างขึ้น ประเด็นคือเพื่อปรับระดับแสงตามความสว่างของอาหารนั่นเอง ไม่สำคัญว่าจะทำให้ฉากหลังเป็นสีขาวเล็กน้อย

    อาหารในภาพถ่าย [3] ดูมืดเนื่องจากมีแสงที่สว่างมากส่องเข้าเลนส์
    ภาพถ่าย [4] เป็นการนำภาพทางด้านซ้ายมาปรับการชดเชยแสง การปรับปริมาณแสงที่ได้รับตามความสว่างของอาหารเพื่อให้ดูสว่างยิ่งขึ้นทำให้อาหารดูน่าทานยิ่งกว่าเดิม

    ภาพถ่าย

    [3] การชดเชยแสง: 0 [4] การชดเชยแสง: +1

    การเปลี่ยนองค์ประกอบภาพ

    หากคุณถ่ายภาพอาหารทั้งจาน ภาพที่ได้ก็จะกลายเป็นภาพสารคดีที่ดูน่าเบื่อ หากลองใส่ใจดูที่องค์ประกอบภาพ คุณจะสามารถเสริมสร้างบรรยากาศในภาพถ่ายได้
    ในภาพถ่ายด้านล่าง ภาพถ่าย [1] เป็นการถ่ายภาพอาหารทั้งจานจากมุมมองของช่างภาพ คุณจะมองเห็นสิ่งที่อยู่ในจาน แต่ภาพนั้นดูน่าเบื่อไร้แก่นสาร นอกจากนี้ วัตถุที่อยู่รอบจานและเครื่องเงินต่างๆ ยังทำให้ภาพดูยุ่งเหยิงอีกด้วย

    เพื่อแก้ไขสิ่งนี้ ภาพถ่าย [2] จึงถ่ายให้ใกล้กับจานอาหารให้มากที่สุด ภาพถูกถ่ายใกล้กับจานอาหารมากจนมีบางส่วนหลุดเฟรมออกไป ภาพถ่ายนี้จึงสามารถสื่อความอร่อยของอาหารได้เด่นชัดยิ่งกว่า ฉากหลังยังดูเป็นระเบียบมากกว่าเช่นกัน
    นอกจากนี้ ควรถ่ายภาพในแนวตั้งหรือแนวทแยง (โดยการเอียงกล้อง) เนื่องจากสามารถสร้างมิติของภาพได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

    ภาพถ่าย

    [1] [2]

    ลองใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสคงที่

    เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสคงที่นั้นมีประโยชน์ในการถ่ายภาพอาหาร เพราะสามารถสร้างฉากหลังที่พร่ามัวได้ และเนื่องจากเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่สามารถรับแสงได้มากกว่า จึงเหมาะกับการใช้เพื่อถ่ายภาพในร่มที่มีสภาพแสงน้อยอีกด้วย

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 35 มม. / F-number: 1.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที

    ไพรม์เลนส์ 35 มม. ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาสำหรับกล้องฟูลเฟรมนี้ ให้คุณภาพของภาพที่โดดเด่นแม้จะใช้ขนาดรูรับแสงกว้างสุดที่ F1.8 เป็นตัวเลือกอเนกประสงค์สำหรับทุกสิ่ง ตั้งแต่การถ่ายภาพบนโต๊ะไปจนถึงการถ่ายภาพกลางแจ้งได้ยอดเยี่ยม การทำงานของ AF ที่เงียบ แม่นยำ รวดเร็ว และ AF Tracking ที่ไว้วางใจได้ทำให้เลนส์นี้เหมาะสมสำหรับการถ่ายวิดีโอและภาพนิ่ง

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 50 มม. / F-number: 1.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที

    ไพรม์เลนส์ 50 มม. รูรับแสงขนาดใหญ่เป็นสิ่งที่ผู้ใช้กล้องฟูลเฟรมมืออาชีพต้องจับจอง และเลนส์นี้ก็เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมในราคาย่อมเยา การออกแบบออปติคอลสุดล้ำสมัยเพื่อคุณภาพสูงของภาพ และรูรับแสงสูงสุด F1.8 ขนาดใหญ่สามารถสร้างโบเก้ฉากหลังที่งดงาม บนตัวกล้อง E-เมาท์ของฟอร์แมท APS-C เลนส์นี้ให้คุณภาพสูงที่เทียบเท่ากับความยาวโฟกัสประมาณ 75 มม.