ความรู้พื้นฐาน → ปัจจัยของการพร่ามัว (Factors of Defocus)

    ปัจจัยของการพร่ามัว (Factors of Defocus)

    ความสามารถในการถ่ายภาพแบบไม่ให้ปรับโฟกัสได้อย่างอิสระเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่มีเฉพาะในกล้องดิจิทัลเลนส์แบบเปลี่ยนได้ที่มีตัวเซนเซอร์ขนาดใหญ่ โดยการพร่ามัวพื้นหลังและพื้นหน้าของวัตถุ จะทำให้วัตถุนั้นมีความน่าดูมากยิ่งขึ้น

    ถ้าต้องการควบคุมจำนวนของการพร่ามัว มีสี่ปัจจัยที่สำคัญ: Aperture (F-number), ความยาวโฟกัส (Focal length), ระยะโฟกัส (Focusing distance), และ ระยะทางถึงพื้นหลัง ท่านสามารถสร้างภาพที่พร่ามัวในแนวทางที่ท่านต้องการได้โดยการใช้ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

    1. ค่า F (F-number): ทำให้เล็กลงไปอีกเพื่อให้ได้การพร่ามัวมากขึ้น
    2. ความยาวโฟกัส (Focal length): ทำให้ยาวขึ้นไปอีกเพื่อให้ได้การไม่ปรับโฟกัสมากขึ้น
    3. ระยะการโฟกัส (Focusing distance): ทำให้สั้นลงไปอีกเพื่อให้ได้การพร่ามัวมากขึ้น
    4. ระยะทางถึงพื้นหลัง: ทำให้ยาวขึ้นไปอีกเพื่อให้ได้การไม่ปรับโฟกัสมากขึ้น

    1. Aperture (F-number)

    สถานะของ รูรับแสง (Aperture) จะแทนด้วยตัวเลขที่เรียกว่า ค่า F (F-number) ค่า F (F-number) ที่ยิ่งเล็กลง จะเป็นการเพิ่มจำนวนของการพร่ามัวมากขึ้น ค่า F (F-number) ที่มากยิ่งขึ้น จะเป็นการลดจำนวนของการพร่ามัวให้น้อยลง

    ภาพถ่าย

    ค่า F (F-number): 2.8 ค่า F (F-number): 16

    ภาพถ่ายเหล่านี้ถูกถ่ายจากตำแหน่งเดียวกัน โดยเปลี่ยนเฉพาะการตั้งค่า F (F-number) เท่านั้น ที่ F2.8, จุดโฟกัสจะอยู่ที่ลูกแก้วสีแดง และพื้นหน้าและพื้นหลังจะพร่ามัว ที่ F16, จะโฟกัสจะอยู่ที่ลูกแก้วสีแดงเหมือนกับลูกแก้วอื่น ๆ ที่อยู่หน้าและหลัง จะเห็นได้ชัดโดยไม่มีการพร่ามัว

    2. ความยาวโฟกัส (Focal length)

    ความยาวโฟกัส (Focal length) จะมีผลต่อความพร่ามัวได้ด้วยเช่นเดียวกัน จะมีค่ามากขึ้น เมื่อความยาวโฟกัสมีค่ายาวขึ้น และเล็กลงเมื่อความยาวโฟกัสสั้นลง ถ้าหากท่านใช้เลนส์ซูม ท่านสามารถเพิ่มจำนวนของความพร่ามัวนี้ได้โดยการถ่ายทางด้านระยะไกล

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส (Focal length): 35 มม. ความยาวโฟกัส: 250 มม.

    ภาพถ่ายข้างต้นถ่ายไว้ด้วย เลนส์ซูมเดียวกัน ที่ 35 มม.(ด้านกว้าง) และ 250 มม.(ด้านระยะไกล) ตามลำดับ ช่างภาพขยับกล้องทำให้ดอกไม้ในพื้นหน้าปรากฎออกมาในขนาดเดียวกันทั้งสองรูป ดังในตัวอย่างนี้, ถ้าหากมีพื้นที่พอในการขยับไปรอบ ๆ ท่านสามารถจะปรับความพร่ามัวของพื้นหลังได้เป็นอย่างมากโดยการขยับไปทีละน้อยจากวัตถุและถ่ายจากทางด้านระยะไกล

    3. ระยะการโฟกัส (Focusing distance) (ระยะทางระหว่างกล้องและวัตถุ)

    จำนวนของความพร่ามัวจะเปลี่ยนไปตามการตั้งค่าของกล้อง เช่น รูรับแสง (Aperture) และ ความยาวโฟกัส (Focal length), และยังเป็นตาม ระยะทางระหว่างกล้องและวัตถุด้วย ความเบลอของพื้นหลัง (Background defocus) จะเพิ่มขึ้นตามการขยับกล้องเข้าใกล้กับวัตถุ อย่างไรก็ตาม จะมี ข้อจำกัด ว่าจะเข้าใกล้วัตถุได้มากเท่าใด ภาพถ่ายด้านล่างถ่ายไว้ในขณะที่เปลี่ยนเฉพาะระยะการโฟกัสเท่านั้น ภาพถ่าย [1] ถ่ายห่าง 150 ซม. จากวัตถุ จากการเปรียบเทียบ, ภาพที่มีพื้นที่มากขึ้น ยกเว้นพื้นที่สำหรับปรับโฟกัส จะมีความพร่ามัวในภาพถ่าย [2], ที่ถ่ายห่าง 50 ซม.จากวัตถุ

    ภาพถ่าย

    [1] ถ่ายห่าง 150 ซม.จากวัตถุ [2] ถ่ายห่าง 50 ซม.จากวัตถุ

    4. ระยะทางระหว่างวัตถุและฉากหลัง

    จำนวนของความพร่ามัวจะขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างกล้องและวัตถุ และตามระยะทางระหว่างวัตถุกับฉากหลังอีกด้วย ยิ่งฉากหลังไกลมากจากวัตถุ ความพร่ามัวก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ใน ภาพถ่ายด้านล่างเลนส์ทางด้านขวามีการขยับถอยไปยังตำแหน่งอื่นเพื่อเปรียบเทียบจำนวนความพร่ามัว

    ภาพถ่าย

    เลนส์ทั้งสองอยู่ที่ระยะทางเดียวกันจากกล้อง เลนส์ทางด้านขวาขยับถอยไปประมาณ 15 ซม. เลนส์ทางด้านขวาขยับถอยไปประมาณ 30 ซม.

    โฟกัสถูกปรับไว้ที่เลนส์ทางด้านซ้าย ท่านสามารถเห็นฉากหลังพร่ามัวได้มากขึ้น เมื่อระยะห่างออกไปจากจุดโฟกัส (ที่วัตถุตั้งอยู่) ใน สถานการณ์ที่ท่านสามารถขยับ วัตถุในฉากหลังได้ (เช่น, เมื่อถ่ายรายการเล็ก ๆ บนโต๊ะ), ท่านสามารถปรับจำนวนความพร่ามัวในทิศทางที่ท่านต้องการได้โดยการขยับวัตถุหลักและวัตถุในฉากหลัง

    ดังนั้น แม้ว่าปัจจัยทั้งสี่จะเป็นตัวกำหนดจำนวนของความพร่ามัว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปัจจัยทั้งหมดสี่อย่างในการสร้างความพร่ามัว ปรับแต่ละปัจจัยให้ได้ความพร่ามัวที่ดีที่สุดตามสภาวะการถ่ายภาพของท่าน