เคล็ดลับในการถ่ายภาพ > ถ่ายภาพตึกระฟ้าขณะท่องเที่ยว

    ระดับ: ผู้เริ่มต้น

    บทที่ 11ถ่ายภาพตึกระฟ้าขณะท่องเที่ยว

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 85 มม. / F-number: 8.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/800 วินาที

    ทิวทัศน์ตัวเมืองที่จุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยวคือสิ่งที่ไม่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน จึงเป็นฉากที่นิยมถ่ายรูปกัน บทนี้จะอธิบายเทคนิคบางส่วนสำหรับเก็บบรรยากาศของตัวเมืองลงในภาพถ่าย
    ขั้นแรก ให้ตั้งค่ากล้องไปที่ โหมด A เพื่อให้สามารถปรับค่ารูรับแสงได้ แล้วถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงเล็ก (ประมาณ F8 หากถ่ายภาพในช่วงกลางวัน)

    พิจารณาการจัดองค์ประกอบและวิธีการครอบตัดภาพ

    การเก็บบรรยากาศของตัวเมืองจะต้องคำนึงถึงการจัดองค์ประกอบภาพเป็นอย่างแรก การถ่ายภาพทั่วไปขณะที่ท่องเที่ยว เรามักจะถ่ายภาพโดยใช้ระยะในช่วงกว้าง (ด้วยความยาวโฟกัสสั้น) โดยพยายามเก็บวัตถุไว้ในเฟรมให้มากที่สุด แต่ในบางฉาก การถ่ายภาพโดยใช้ช่วงระยะไกล (ด้วยความยาวโฟกัสยาว) อาจสื่ออารมณ์ได้ดีกว่า ตัวอย่างต่อไปนี้จะอธิบายเอฟเฟกต์นี้ให้เห็น

    ภาพถ่าย

    [1] ความยาวโฟกัส: 16 มม. / F-number: 10 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที [2] ความยาวโฟกัส: 16 มม. / F-number: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/160 วินาที

    ภาพเหล่านี้ถ่ายโดยใช้ระยะ 16 มม. ในมุมกว้างของเลนส์ซูมปกติ
    อาคารถูกเน้นให้เด่นชัดในภาพ [1] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาคารเพียงอาคารเดียวกินพื้นที่ในเฟรมเป็นบริเวณกว้าง ภาพนี้จึงสื่ออารมณ์ที่คุณสัมผัสจากสถานที่จริงได้ไม่เต็มที่ หากคุณใช้มุมกว้างเพื่อถ่ายภาพในตัวอย่างนี้ วัตถุที่ด้านหน้าจะมีขนาดใหญ่ ในขณะที่ด้านหลังจะดูเล็กกว่าที่คุณเห็น ถ้าคุณต้องการเน้นอาคารเพียงหลังเดียวให้ดูมีพลัง ก็สามารถใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบนี้ได้ แต่ถ้าต้องการเก็บบรรยากาศของเมืองและท้องถนนทั้งหมดไว้ ให้ลองใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบอื่นดู

    ภาพถ่าย [2] ถ่ายโดยใช้ช่วงมุมกว้าง ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของเฟรมนั้นเต็มไปด้วยอาคารและพื้น แต่การ “จัดองค์ประกอบภาพรูปวงกลม” โดยให้ปลายถนนอยู่ที่กลางภาพ ทำให้ภาพถ่ายดูมีมิติมากกว่าภาพถ่าย [1] หากคุณต้องการภาพถ่ายมุมกว้างที่ดูมีพลัง ให้ลองคำนึงถึงทิศทางของถนนในการถ่ายภาพด้วย
    เรามาดูกันว่า การแสดงอารมณ์ในภาพถ่ายจะเปลี่ยนไปอย่างไรถ้าถ่ายภาพโดยใช้ช่วงระยะไกล

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 50 มม. / F-number: 8.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที

    ภาพนี้ถ่ายโดยใช้ระยะ 50 มม. ของเลนส์ซูม โดยปรับค่ารูรับแสงไว้ที่ F8 เพื่อให้ฉากหน้าและฉากหลังอยู่ในโฟกัส พร้อมทั้งติดตั้งกล้องไว้อย่างมั่นคงในแนวตั้ง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อาคารดูเอียงและให้ความรู้สึกที่ไม่มั่นคงในภาพถ่าย
    ภาพถ่ายสามารถเก็บคุณลักษณะของตัวเมืองไว้ได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการใช้ช่วงระยะไกล อาคารที่อยู่ใกล้จะไม่กินพื้นที่ในเฟรมมากนัก ซึ่งต่างจากภาพที่ถ่ายโดยใช้ช่วงมุมกว้าง ถนนยังกินพื้นที่ 1/4 ของทั้งเฟรมอีกด้วย ซึ่งทำให้ภาพถ่ายมีองค์ประกอบภาพที่ดูเป็นธรรมชาติ

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 50 มม. / F-number: 6.3 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที

    ภาพถ่ายนี้ถ่ายโดยใช้ระยะที่ 50 มม. แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ในเฟรมจะเป็นท้องฟ้าที่มีเมฆมาก แต่ภาพทิวทัศน์ของตัวเมืองได้ถูกบันทึกไว้โดยใช้ช่วงระยะไกล ซึ่งให้มุมมองภาพที่ใกล้เคียงกับสายตามนุษย์

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 30 มม. / F-number: 7.1 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/60 วินาที / ISO: 160

    เทคนิคในการครอบตัดบางส่วนของฉากโดยใช้ช่วงระยะไกลยังมีประสิทธิภาพในการถ่ายภาพจากจุดชมทิวทัศน์ รวมถึงการถ่ายภาพท้องถนนอีกด้วย

    ภาพถ่าย

    [1] ความยาวโฟกัส: 28 มม. / F-number: 8.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/160 วินาที / ISO: 200 [2] ความยาวโฟกัส: 135 มม. / F-number: 8.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 2.5 วินาที

    เมื่อดูภาพจากจุดชมทิวทัศน์ เรามักจะถ่ายภาพทิวทัศน์ทั้งหมดโดยใช้เลนส์มุมกว้าง แต่เราสามารถครอบตัดบางส่วนของทิวทัศน์นั้นไว้ในเฟรม เพื่อบันทึกบรรยากาศอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเมืองลงในภาพถ่ายได้
    ภาพถ่าย [1] ถ่ายในช่วง 28 มม. โดยใช้ระยะของเลนส์ซูมปกติไปทางระยะไกลเล็กน้อย ส่วนที่น่าประทับใจที่สุดได้ถูกบันทึกลงในเฟรมนี้ แทนที่ภาพของทั้งตัวเมืองจะกระจายอยู่ทั่วทั้งเฟรม ภาพถ่าย [2] ถ่ายในช่วง 135 มม. ซึ่งทั้งเฟรมนั้นอัดแน่นไปด้วยบ้านเรือน
    บ้านแต่ละหลังดูมีขนาดเหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีการถ่ายภาพที่แสดงบรรยากาศได้อย่างน่าสนใจเช่นกัน

    วิธีนี้จะครอบตัดส่วนที่สำคัญลงในเฟรมโดยใช้ช่วงระยะไกล ซึ่งเป็นวิธีสื่ออารมณ์ของทิวทัศน์ตัวเมืองที่มีประสิทธิภาพ ใช้เลนส์ซูมให้เต็มประสิทธิภาพโดยลองใช้ความยาวโฟกัสในระยะต่างๆ

    ให้ลองใช้เลนส์ที่มีกำลังขยายสูง

    เลนส์ที่อยู่ในระเภท "เลนส์ซูมกำลังขยายสูง" เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการท่องเที่ยว เนื่องจากอัตราการขยายที่สูงของเลนส์ครอบคลุมตั้งแต่ช่วงกว้างไปถึงช่วงระยะไกล จึงสามารถถ่ายภาพขณะท่องเที่ยวได้หลากหลายอารมณ์ นอกจากนี้คุณยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเลนส์สำหรับฉากแต่ละฉาก จึงไม่พลาดโอกาสที่สำคัญในการถ่ายภาพ และช่วยให้คุณได้จดจ่อและเพลิดเพลินไปกับการท่องเที่ยวอีกด้วย

    ภาพถ่าย

    F-number: 6.3 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/125 วินาที

    ช่วงซูม 10 เท่าของ 24 มม. ถึง 240 มม. ช่วยให้เลนส์เดี่ยวนี้ครอบคลุมสถานการณ์การถ่ายภาพที่หลากหลาย ทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการพกพาในกรณีที่การลดสัมภาระในขณะเดินทางถ่ายภาพเป็นเรื่องสำคัญ และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ สถาปัตยกรรม การถ่ายภาพแบบรวดเร็ว ภาพบุคคลและอีกมากมาย สลับระหว่างมุมระยะกว้างและช่วงระยะไกลได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์ ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพบรรยากาศที่สำคัญนั้นได้ในชั่วพริบตา ระบบออปติคส์ขั้นสูงลดความคลาดเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่ให้ความละเอียดสูงทั่วทั้งบริเวณภาพและมอเตอร์แนวราบที่มีความแม่นยำเป็นตัวขับเคลื่อนโฟกัสเพื่อการตอบสนองที่รวดเร็วและราบรื่น ระบบป้องกันภาพสั่นไหว Optical SteadyShot (OSS) ในตัวจะช่วยให้การถ่ายภาพระยะไกลแบบถือด้วยมือและการถ่ายภาพที่มีแสงน้อยทำได้สะดวกและการออกแบบนั้นป้องกันฝุ่นและความชื้นเพื่อการใช้งานที่เชื่อถือได้ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย

    ภาพถ่าย

    ความยาวโฟกัส: 28 มม. / F-number: 10 / ความเร็วชัตเตอร์: 20 วินาที

    เลนส์นี้มีขนาดเล็กและเบากว่าเลนส์ประเภทเดียวกัน จึงเหมาะสำหรับสถานการณ์ที่หลากหลาย ช่วงความยาวโฟกัสที่ครอบคลุมตั้งแต่ 18 มม. ถึง 200 มม. (ความยาวโฟกัส 27 มม. ถึง 300 มม. เทียบเท่า 35 มม.) ทำให้เลนส์ตัวนี้เป็นเลนส์ "ท่องเที่ยว" ที่มีกำลังขยายสูง เทคโนโลยี Optical SteadyShot ยังช่วยลดความพร่ามัวที่เกิดขึ้นเมื่อกล้องสั่นไหวในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อยหรือที่ความยาวโฟกัสในระยะไกลอีกด้วย