หมายเลข ID หัวข้อ : 00101087 / ปรับปรุงครั้งล่าสุด : 13/05/2024พิมพ์

ไม่มีเสียง มีนอยส์รบกวน หรือเสียงขาดตอน เกิดขึ้นในหูฟังแบบมีสายหรือหูฟังเอียร์บัด(Earbud)

    ข้อสำคัญ: วิธีแก้ปัญหาต่อไปนี้ใช้ได้กับกรณีที่หูฟังและอุปกรณ์การเล่นเชื่อมต่อกันโดยตรงด้วยสาย วิธีการแก้ปัญหาจะแตกต่างกันไปเมื่อใช้การเชื่อมต่อแบบไร้สาย

    ภาพรวม

    ระบุอาการเสียที่สร้างปัญหาให้กับท่านโดยการตรวจเช็คกับหมวดหมู่ต่อไปนี้:

    เพื่อลดโอกาสของการเกิดปัญหาใด ๆ การบำรุงรักษา ที่ถูกต้องถือเป็นสิ่งสำคัญ:

    ภาพรวมปัญหา

    ไม่มีเสียง

    • ตรวจสอบให้มั่นใจว่าปลั๊กหูฟังมีการเชื่อมต่ออย่างถูกต้องเข้ากับอุปกรณ์.
      รูปภาพประกอบ

      หมายเหตุ: มีความเป็นไปได้ที่ปลั๊กหูฟังไม่ได้เสียบเข้าไปอย่างถูกต้องเนื่องจากความแข็งของแจ็คหูฟังในอุปกรณ์ที่ใช้อยู่นั้น (เครื่องเล่นเพลง, โทรศัพท์สมาร์ทโฟน, แทบเล็ต ฯลฯ). ตรวจสอบให้มั่นใจว่าปลั๊กมีการเสียบเข้าไปในอุปกรณ์จนสุดแล้ว.
    • ในกรณีที่เสียงไม่ได้ยินจากทางช่องด้านขวาของหูฟัง ให้ตรวจเช็คดูว่าอุปกรณ์ที่หูฟังเชื่อมต่ออยู่นั้นมีเอาท์พุทเป็นแบบโมโนหรือไม่. ถ้าหากอุปกรณ์นั้นไม่สามารถเล่นเสียงสเตอริโอได้ หูฟังก็จะไม่ให้เสียงสเตอริโอออกมา. เรื่องนี้เป็นไปตามรายละเอียดสเปคของอุปกรณ์ และไม่ได้เป็นข้อผิดพลาดแต่อย่างใด. ทดสอบเรื่องนี้ได้โดยการเชื่อมต่อหูฟังเข้ากับอุปกรณ์ที่มีเอาท์พุทแบบสเตอริโอ (เช่น เครื่องเล่นเพลงดิจิตอล) และเช็คดูว่าได้ยินเสียงออกมาจากทั้งสองแชลแนลหรือไม่
       
    • ตรวจเช็คดูว่าอุปกรณ์การเล่นทำงานได้ปกติหรือไม่

      หมายเหตุ: ซึ่งสามารถทำการตรวจเช็คดูได้โดยการปรับโวลลุ่มของอุปกรณ์การเล่นให้สูงขึ้น หรือโดยการเชื่อมต่อหูฟังตัวที่แตกต่างออกไปกับอุปกรณ์การเล่นนั้น

    ได้ยินเสียงนอยส์รบกวน

    • เชื่อมต่อหูฟังตัวอื่นที่แตกต่างออกไปเข้ากับอุปกรณ์ และตรวจเช็คดูว่ามีนอยส์รบกวนออกมาหรือไม่
    • ตรวจเช็คดูว่าได้ยินเสียงนอยส์รบกวนหรือไม่ในสภาวะที่สายไฟไม่สัมผัสกับเสื้อผ้า ฯลฯ, ฯลฯ.

      หมายเหตุ: มีหลายกรณีเมื่อนอยส์รบกวนมาจากการสัมผัสเบา ๆกับเสื้อผ้า ซึ่งสามารถจะได้ยินจากสายไฟได้. นอยส์รบกวนนี้สามารถจะลดลงได้โดยใช้คลิปหนีบสำหรับสายไฟ.
    • เมื่อได้ยินเสียงนอยส์รบกวน เมื่อเชื่อมต่อหูฟังกับมอนิเตอร์หรือมิกเซอร์ที่มีขั้วต่อหูฟัง, มีความเป็นไปได้ที่มอนิเตอร์หรือมิกเซอร์นั้นจะเป็นต้นกำเนิดของนอยส์รบกวนนั้น.
      ตรวจเช็คดูว่านอยส์รบกวนยังคงได้ยินอยู่อีกหรือไม่เมื่อเชื่อมต่อกับหูฟังตัวใหม่ที่แตกต่างออกไปเข้ากับอุปกรณ์ หรือยังได้ยินเสียงนอยส์รบกวนอีกหรือไม่เมื่อเชื่อมต่อหูฟังนั้นกับแหล่งกำเนิดเสียงอื่นที่แตกต่างออกไป
    • ในกรณีที่มีเสียงประทุหรือเสียงป็อก เมื่อติดตั้งหูฟังแบบใส่เข้าไปในรูหู (Canal-type) เรื่องนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดปกติ เสียงดังกล่าวอาจจะเกิดมาจากตัวเอียร์บัดไม่มั่นคงหลังทำการติดตั้ง. เสียงเหล่านี้จะหายไปเองหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง.
    • ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ ที่หูฟังนั้นเชื่อมต่ออยู่, เสียงอาจจะออกมาผิดเพี้ยน หรือมีเสียงประทุ หรือมีเสียงนอยส์รบกวนเกิดขึ้น เมื่อปรับเพิ่มระดับโวลลุ่มขึ้น. ในกรณีเช่นนี้, ให้ใช้หูฟังโดยปรับลดระดับโวลลุ่มลง.

      คำเตือน: มีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ได้รับบาดเจ็บส่วนบุคคลได้. การใช้งานที่ระดับโวลลุ่มสูงที่จะไปกระตุ้นหู อาจจะทำให้ผลที่เป็นอันตรายต่อการได้ยินได้. ระมัดระวังไม่ปรับระดับโวลลุ่มให้สูงเกินไปเป็นการป้องกันอันตรายต่อหูของท่าน.

      นอกจากนี้, ระดับโวลลุ่มที่สูงเกินไป จะทำให้มีเสียงเล็ดลอดออกไปข้างนอกจากหูฟังได้. โปรดระมัดระวังเนื่องจากจะไปรบกวนผู้คนรอบข้างท่านได้.

    เสียงมีการขาดตอน

    • เชื่อมต่อหูฟังตัวที่แตกต่างออกไปกับอุปกรณ์การเล่น และตรวจเช็คดูว่าเพลง ฯลฯ ที่กำลังเล่นอยู่โดยอุปกรณ์การเล่นนั้นยังคงมีการขาดตอนของเสียงอยู่อีกหรือไม่
    • ตรวจเช็คดูว่าระดับแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ของอุปกรณ์การเล่นนั้นว่ามีอยู่อย่างเพียงพอ

      หมายเหตุ: เสียงอาจจะเกิดการขาดตอนได้เมื่อระดับที่เหลืออยู่ของแบตเตอรี่ในตัวมีเหลืออยู่ต่ำ.

      ตรวจสอบให้มั่นใจว่าปลั๊กหูฟังมีการเชื่อมต่ออย่างถูกต้องเข้ากับอุปกรณ์.
      รูปภาพประกอบ

      หมายเหตุ: มีความเป็นไปได้ที่ปลั๊กหูฟังไม่ได้เสียบเข้าไปอย่างถูกต้องเนื่องจากความแข็งของแจ็คหูฟังในอุปกรณ์ที่ใช้อยู่นั้น (เครื่องเล่นเพลง, โทรศัพท์สมาร์ทโฟน, แทบเล็ต ฯลฯ). ตรวจสอบให้มั่นใจว่าปลั๊กมีการเสียบเข้าไปในอุปกรณ์จนสุดและถูกต้องดีแล้วกับอุปกรณ์นั้น.

    ระดับโวลลุ่มเสียงเบา

    • ปรับระดับโวลลุ่มให้สูงขึ้นถ้าหากระดับโวลลุ่มของอุปกรณ์การเล่นนั้นต่ำเกินไป
    • ตรวจเช็คดูว่าระดับแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ของอุปกรณ์การเล่นนั้นว่ามีอยู่อย่างเพียงพอ
      เสียงอาจจะเกิดการขาดตอนได้เมื่อระดับที่เหลืออยู่ของแบตเตอรี่ในตัวมีเหลืออยู่ต่ำ.

    มีความผิดเพี้ยนเมื่อเพิ่มระดับโวลลุ่ม

    • ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ ที่หูฟังนั้นเชื่อมต่ออยู่, เสียงอาจจะออกมาผิดเพี้ยน หรือมีเสียงประทุ หรือมีเสียงนอยส์รบกวนเกิดขึ้น เมื่อปรับเพิ่มระดับโวลลุ่มขึ้น. ในกรณีเช่นนี้, ให้ใช้หูฟังโดยปรับลดระดับโวลลุ่มลง.

      คำเตือน: มีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ได้รับบาดเจ็บส่วนบุคคลได้. การใช้งานที่ระดับโวลลุ่มสูงที่จะไปกระตุ้นหู อาจจะทำให้ผลที่เป็นอันตรายต่อการได้ยินได้. ระมัดระวังไม่ปรับระดับโวลลุ่มให้สูงเกินไปเป็นการป้องกันอันตรายต่อหูของท่าน.

      นอกจากนี้, ระดับโวลลุ่มที่สูงเกินไป จะทำให้มีเสียงเล็ดลอดออกไปข้างนอกจากหูฟังได้. โปรดระมัดระวังเนื่องจากจะไปรบกวนผู้คนรอบข้างท่านได้.

    ไม่มีเสียงเบส

    • ปรับระดับโวลลุ่มให้สูงขึ้นถ้าหากระดับโวลลุ่มของอุปกรณ์การเล่นนั้นต่ำเกินไป

    เสียหาย

    • ถ้าหากไม่มีวิธีการแก้ปัญหาที่อธิบายมาข้างต้นสามารถช่วยแก้ปัญหาให้ได้ มีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะจำเป็นต้องได้รับการตรวจซ่อมหรือเปลี่ยนเครื่องใหม่. เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความเสียหายใด ๆ ต่อเครื่องของท่าน กรุณาดูในส่วนของการบำรุงรักษา เพื่อที่จะได้ทำการบำรุงรักษาที่ถูกต้องกับผลิตภัณฑ์ Sony ของท่าน.

    การบำรุงรักษา

    การทำความสะอาด

    • ถ้าหากปลั๊กของหูฟังสกปรก ให้ทำความสะอาดปลั๊กนั้นโดยใช้ผ้าแห้ง.
    • ตรวจเช็คดูว่ามีวัสดุแปลกปลอมหรือสิ่งสกปรก (เช่นขี้หู หรือผงฝุ่น) ติดกับส่วน [A] ของหูฟังหรือไม่ เนื่องจากส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ให้เสียงอออกมา วัสดุแปลกปลอมอาจจะทำให้ระดับเสียงลดลงหรือคุณภาพของเสียงด้อยลงไปได้.

      รูปภาพของหูฟังแบบใส่เข้าไปในรูหู ที่ถอดเอาเอียร์บัดออก
      รูปภาพประกอบ

    หมายเหตุ:

    • เมื่อมีสิ่งสกปรก แปลกปลอมติดอยู่ที่ส่วน [A], ให้ทำความสะอาดหูฟังนั้นโดยการเป่าวัสดุแปลกปลอมนั้นออกโดยใช้ตัวเป่าลม.
    • ไม่ใช้วัตถุปลายแหลมเช่นปลายของปากกา. อาจจะไปสร้างความเสียหายเพิ่มได้.
    • ในกรณีที่เมื่อหูฟังมีท่าทีจะหลุดจากหูได้ง่าย, ให้เปลี่ยนขนาดของเอียร์บัดแต่ละอันให้วางได้อย่างพอดีกับแต่ละหู เพื่อปรับปรุงความพอดีของหูฟังนั้น.
    • ให้เปลี่ยนเอียร์บัดหรือเบาะรับกับหู ถ้าหากพบว่ามีความเสียหายหรือเสื่อมสภาพ.

    การดูแล

    • ต้องมั่นใจว่าได้จับที่ส่วน [A] ของปลั๊กในการดึงหูฟังออกจากอุปกรณ์การเล่นนั้น
      หมายเหตุ: การดึงในส่วนที่เป็นสาย อาจจะทำให้ส่วนของสายเกิดความเสียหายจากฉีกขาดของสายลวดได้.

      ถูกต้อง
      รูปภาพประกอบ

      ไม่ถูกต้อง
      รูปภาพประกอบ
       
    • ไม่ทำการพันสายของหูฟังรอบตัวอุปกรณ์การเล่น ฯลฯ จนแน่น เนื่องจากการพันสายรอบจนแน่น จะเป็นการเพิ่มความเครียดในสายลวดด้านในของสายไฟ และอาจจะทำให้สายลวดฉีกขาด ส่งผลให้เสียงเกิดความผิดเพี้ยน หรือเกิดการแล็คของเสียงได้
      รูปภาพประกอบ
    • ข้อระวังเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตย์.
      ไฟฟ้าสถิตย์ที่สะสมอยู่ในตัวมนุษย์ อาจจะทำให้เกิดการเจ็บปวดเหมือนโดนหนามแทงด้านในหู. สิ่งนี้สามารถจะลดให้น้อยลงได้โดยการสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ.