27 มกราคม 2023
หากเราไม่มีความเอาใจใส่ เราอาจพบว่าตนเองยึดติดกับแนวคิดเหมารวมของเราเอง
ผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งอาจสะดวกสบายสำหรับเรา แต่สำหรับคนอื่นล่ะ คุณสมบัติที่ "สะดวกสบาย" ของผลิตภัณฑ์ของ Sony ทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเข้าถึงได้สำหรับผู้คนมากขึ้นหรือไม่
เพื่อปลูกฝังให้พนักงานคำนึงถึงมุมมองและคำถามเหล่านี้ในขณะพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ Sony จึงจัดเวิร์กช็อปการออกแบบที่ครอบคลุมถึงคนทุกกลุ่มสำหรับพนักงานเป็นประจำ
ในที่นี้ เราจะติดตามพนักงานใหม่ของ Sony สองคนในหนึ่งวันในขณะที่พวกเขาใช้เวลากับผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มนำที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
ผู้ที่จะมาเข้าร่วมในการสัมภาษณ์นี้ได้แก่ Hironori Sato มือกลองอาชีพผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็น และ Rin Ito และ Rikushi Sabu พนักงานใหม่ของ Sony Rin ได้ร่วมงานกับ Hironori ที่เวิร์กช็อป ขณะที่ Rikushi ได้ร่วมงานกับ Maito Wakui ซึ่งใช้วีลแชร์
ในเวิร์กช็อปนี้จะใช้ชื่อเล่นของทุกคน โดยคุณ Sato จะใช้ชื่อว่า "Sato" คุณ Ito ใช้ชื่อว่า "Rin" และคุณ Sabu ใช้ชื่อว่า "Sabu" (ชื่อเล่นเหล่านี้จะถูกใช้ที่ด้านล่างนี้)
เมื่อเราได้แนะนำเวิร์กช็อปนี้ไปแล้วในส่วนที่ 1 ในส่วนที่ 2 นี้ เราจะกลับมาเพื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมทั้งสามคน
ー Sato ช่วยย้ำให้เราทราบหน่อยว่า "ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มนำ" คืออะไรในบริบทนี้
[Sato]
กล่าวง่ายๆ ก็คือ ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มนำคือผู้ที่ได้เผชิญกับบางสิ่งก่อนคนอื่นๆ ท้ายที่สุด เราทุกคนจะเผชิญกับข้อจำกัดทางร่างกายเมื่อเรามีอายุมากขึ้น อย่างเช่นความลำบากในการมองเห็นหรือการเดิน แต่พวกเราบางคนก็ใช้ชีวิตโดยมีข้อจำกัดเหล่านี้อยู่แล้ว ไม่ว่าตั้งแต่กำเนิดหรือ ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของเรา
ผู้ที่มีความพิการอาจเข้าใจดีถึงปัญหาประเภทต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น เราเรียกผู้สูงอายุหรือผู้มีความพิการที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือที่เวิร์กช็อปการออกแบบที่ครอบคลุมถึงคนทุกกลุ่มนี้ว่า "ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มนำ" เนื่องจากพวกเขาจะช่วยกำหนดทิศทางสู่อนาคต
ー มีใครในที่นี้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเข้าร่วมเวิร์กช็อปนี้หรือไม่
[Sabu]
ผมตื่นเต้นมากกว่าหวั่นกลัว สิ่งที่จูงใจให้ผมเข้าร่วมและเรียนรู้เกี่ยวกับมุมมองของผู้พิการก็คือการที่แผนกของผมที่ Sony ส่งเสริมการออกแบบที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางทั่วทั้งบริษัท ซึ่งเป็นกระบวนการออกแบบที่ช่วยให้เราสามารถนำเสนอประสบการณ์ที่เหนือกว่าโดยการคำนึงถึงมุมมองของลูกค้าอยู่เสมอ
[Rin]
สำหรับตัวฉันเอง ฉันลังเลเล็กน้อย ฉันไม่แน่ใจว่าความพยายามที่ดูเคอะเขินของฉันในการช่วยพาผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มนำไปรอบๆ เมืองอาจเป็นการก้าวก่ายหนทางในการทำสิ่งต่างๆ ตามปกติของพวกเขาก็ได้
[Sato]
จริงหรือครับ การสื่อสารของเราเป็นไปอย่างราบรื่นจนผมคิดว่าคุณกับพนักงานคนอื่นๆ จาก Sony นั้นมีปฏิสัมพันธ์กับผู้พิการในสถานที่ทำงานเป็นประจำ หรือมีเพื่อนหรือคนสนิทที่เป็นผู้พิการเสียอีก ผมเดาว่านั่นคงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรของ Sony
ผมเองมีความกังวลอยู่ข้อเดียว ผมต้องการสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีใครรู้สึกหวาดเกรง เนื่องจากบางคนจะรู้สึกเกรงกลัวเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้พิการ โดยหลักแล้วผมต้องการให้ผู้เข้าร่วมทราบถึงทุกแง่มุมในโลกของผู้ทุพพลภาพ ด้วยการให้พวกเขาเข้าไปสัมผัสโลกนั้นจริงๆ
ー มีอะไรบ้างที่น่าจดจำสำหรับคุณในขณะทำภารกิจภาคสนาม
[Sabu]
ผมอยู่ในทีมเดียวกับ Maito ซึ่งใช้วีลแชร์ และในตอนนั้น เธอก็ดูเหมือนจะเปิดประตูออฟฟิศได้อย่างยากลำบากด้วยมือข้างเดียวก่อนที่จะออกไปด้วยวีลแชร์
[Sabu]
เธออาศัยลิฟต์ในการขึ้นและลงสู่ชั้นต่างๆ ที่สถานีรถไฟและสถานที่อื่นๆ แต่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย การค้นหาลิฟต์ต้องใช้เวลาสักพัก
และยังมีเรื่องของการซื้อตั๋วอีกด้วย จากตำแหน่งที่อยู่ต่ำกว่า เช่น จากวีลแชร์ แสงจ้าจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ทำให้อ่านข้อมูลบนจอภาพได้ยากมาก
[Rin]
การซื้อตั๋วก็ดูเหมือนเป็นเรื่องยากสำหรับ Sato เช่นกัน
[Sato]
ใช่แล้วครับ ในสถานีต่างๆ มีตารางราคาเป็นอักษรเบรลล์รวมถึงข้อมูลที่มีประโยชน์อื่นๆ อยู่ แต่ในตอนแรก เราไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำที่เครื่องขายตั๋วเป็นอักษรเบรลล์ แต่เมื่อผมได้รับคำแนะนำให้กดปุ่มทางด้านซ้ายล่างเพื่อเริ่มใช้งานเสียงแนะนำ ผมก็สงสัยว่าด้านซ้ายล่างที่ว่านั้นคือตรงไหน ผมไม่ได้ลองซื้อตั๋วมาสักพักแล้ว แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผมก็ยังต้องใช้เวลามากอยู่ดี
[Rin]
ฉันคิดว่าเรื่องนี้จะรบกวนใจคุณเสียอีก แต่หลังจากนั้นฉันก็สังเกตเห็นในตอนที่เราสร้างแผนที่อารมณ์ คุณได้พูดว่า
[Sato]
ใช่แล้ว สมาชิกทีมของเราก็บอกผมแบบนั้น พวกเขาไม่อยากเชื่อว่าผมรู้สึกสนุกแทนที่จะหงุดหงิดรำคาญใจ
[Sabu]
ในบางช่วงเวลา ผมก็สังเกตเห็นแนวคิดแบบเหมารวมของผมเองเช่นกัน Maito เดินทางไปรอบๆ ด้วยวีลแชร์ เมื่อเธอไปช้อปปิ้ง เธอจึงไม่สามารถเอื้อมหยิบสินค้าที่อยู่บนชั้นสูงๆ ได้ อย่างไรก็ตาม เธอบอกผมว่าตราบใดที่เธอมีเวลาเหลือ หากเธอขอให้พนักงานร้านช่วย พวกเขาก็จะช่วย อันที่จริงเธอรู้สึกขอบคุณสถานการณ์นี้ เพราะสถานการณ์นี้ทำให้เธอมีโอกาสสื่อสารกับพวกเขา นี่คือจุดที่ผมคิดว่าเธอจะมองเรื่องนี้ในทางลบ
[Sato]
การเปรียบเทียบมุมมองเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก แต่หากเราดูตัวอย่างจากเรื่องของประตูรถไฟ การเดาถูกว่าประตูรถไฟจะเปิดที่ด้านไหนเป็นเรื่องที่สนุกได้อย่างง่ายๆ เลยใช่ไหมล่ะ นั่นคือมุมมองของผม โลกคือสถานที่ที่ผมไม่รู้จักจนกระทั่งผมได้ลองสัมผัสมัน
การส่งเสริมความคิดที่เป็นอิสระและท้าทายยิ่งขึ้น
ー เวิร์กช็อปสิ้นสุดลงโดยการมอบหมายให้ทีมต่างๆ ออกแบบวิธีการสัญจรสำหรับผู้พิการสำหรับปี 2030 ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้
[Sabu]
ในภารกิจภาคสนาม Maito ต้องรวบรวมเรี่ยวแรงทั้งหมดของเธอเพื่อเปิดประตูจากวีลแชร์ของเธอ นอกจากนี้เธอยังดูเหมือนจะค้นหาเส้นไปยังสถานีได้ยากลำบาก ในแต่ในแผนที่อารมณ์ของเธอ เธอให้คะแนนประสบการณ์เหล่านี้อย่างเป็นกลาง โดยไม่เป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ ประสบการณ์เหล่านั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวลสำหรับเธอเนื่องจากเธอชินกับมันอย่างมาก
ด้วยความพิการทางร่างกาย การเคลื่อนที่ไปรอบๆ นั้นต้องอาศัยพลังงานอย่างมาก นี่คือสิ่งที่ทีมของผมระบุว่าเป็นปัญหาด้านการสัญจรสำหรับผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการสามารถสงวนพลังงานของพวกเขาไว้ได้ เราได้แนะนำอินเตอร์เฟซการสัญจรสำหรับผู้พิการที่อยู่ในรูปแบบของสมาร์ทโฟนหรือแว่นตาอัจฉริยะ ซึ่งสามารถนำทางผู้ใช้วีลแชร์ไปยังทางลาดแทนที่จะเป็นบันได แม้แต่การนำทางไปยังพรมวิเศษลอยได้ก็อาจเป็นไปได้ในสักวันหนึ่ง
[Rin]
ทีมของฉันพบปัญหาหนึ่ง ซึ่งเกิดจากสมมติฐานที่ขัดแย้งกัน ความรู้ที่ผู้คนมองข้ามนั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ผู้พิการอาจต้องเผชิญกับความไม่สะดวกสบายในสายตาของผู้ที่อยู่ในโลกอันสะดวกสบายของผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ เราคิดว่าขั้นตอนแรกน่าจะเป็นการขจัดสมมติฐานเหล่านั้นทิ้งไป
ในช่วงแรกระหว่างการระดมความคิด ฉันจินตนาการถึงผู้ช่วยร่างจิ๋วนั่งอยู่บนไหล่ของผู้คนเพื่อคอยบอกเส้นทางที่ดีที่สุด
ในท้ายที่สุด ทีมของฉันเสนอแนวคิด "ตัวแทนเสียง" แนวคิดนี้อาจสะดวกสบายหากสามารถจับคู่เข้ากับคำแนะนำเกี่ยวกับเมืองในรูปแบบของ AR ตัวอย่างเช่น การชำระเงินอัตโนมัติหลังการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้
[Sato]
ผมสนใจในประเด็นนี้เหมือนกัน ผมอยากได้ยินแนวคิดที่น่าตื่นเต้นอย่าง "เมืองลอยได้" มากกว่า "คนพิการลอยได้"
[Rin]
ฉันอาจจะยึดติดกับคำแนะนำของผู้ให้คำแนะนำเวิร์กช็อปที่ว่า "ความคิดอย่างกระเป๋าวิเศษของโดราเอมอนเป็นเรื่องที่ยอมรับได้" มากเกินไป มันค่อนข้างเศร้าที่จะยอมรับว่าฉันยึดติดกับความคิดของตนเองมากขึ้นเมื่อฉันมีอายุมากขึ้น
[Sabu]
ผมก็เหมือนกัน ผมเองก็พิจารณาว่าแนวคิดต่างๆ นั้นเป็นไปได้จริงหรือไม่ นั่นอาจเป็นนิสัยที่ผมติดมาจากการทำวิจัยในมหาวิทยาลัย
[Sato]
การสัญจรสำหรับผู้พิการ ซึ่งเป็นธีมของเราในวันนี้ คือความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบจากมุมมองของเรา น่าประหลาดที่กลุ่มผู้พิการอย่างพวกเราอาจไม่สามารถจินตนาการได้ว่า การได้ไปยังที่ต่างๆ ด้วยวิธีการที่สนุกและน่าตื่นเต้นโดยปราศจากความตึงเครียดจะทำให้เรารู้สึกอย่างไรบ้าง
เราเคยชินกับความไม่สะดวก จนกระทั่งผมได้ทำแผนที่อารมณ์จึงเกิดความกระจ่างขึ้น บ่อยครั้งที่ผมตระหนักได้ว่า "หลายสิ่งเมื่อพูดถึงอย่างจริงจัง จึงจะพบว่ามันคือความไม่สะดวกจริงๆ"
[Sato]
การพูดคุยของเราเกี่ยวกับแผนที่อารมณ์ทำให้ผมตระหนักว่า ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้คนจะเอาใจใส่ผู้พิการอย่างพวกเรา สมาชิกทีมที่ช่างสังเกตได้ให้ความสนใจแก่หลายสิ่งที่เรามองข้ามมาโดยตลอด คงจะดีไม่น้อยหากข้อมูลนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมหรือธุรกิจในอนาคต ผมยินดีอย่างยิ่งหากผมสามารถเป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจนั้น
[Sabu]
สำหรับผม เวิร์กช็อปนี้ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มนำมีความตระหนักรู้ถึงความไม่สะดวกสบายมากมายในสังคมที่ผู้อื่นอาจไม่เคยสังเกตเห็น ผมมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทดสอบผู้ใช้ผลิตภัณฑ์โดยใช้ข้อมูลจากผู้มีความพิการด้วย ดังนั้น ผมจะไม่ลืมที่จะแบ่งปันความประทับใจของผมกับแผนกเพื่อให้เราสามารถนำข้อมูลเชิงลึกนี้ไปใช้ได้จริง
[Rin]
ฉันก็เหมือนกัน ในงานออกแบบ UI/UX สำหรับแอปต่างๆ บนทีวี ฉันให้ความสำคัญอย่างมากกับความชัดเจนของข้อความและการทำให้ข้อความเข้าใจง่าย แต่การได้สังเกตเห็นว่าคุณ Sato สามารถใช้แอปบนสมาร์ทโฟนได้อย่างคล่องแคล่วนั้นให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับฉันมาก จากนี้ไป ฉันจะพยายามใช้ความเข้าใจในวิธีการที่ผู้คนใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในความเป็นจริงมากขึ้นในการออกแบบ UI/UX ของฉัน
[Sato]
ขอบคุณครับ สิ่งที่ทำให้ผมตื่นเต้นมากที่สุดคือกระบวนการระหว่างเวิร์กช็อปที่สมาชิกทีมคนอื่นๆ เริ่มพิจารณาว่าความไม่สะดวกต่างๆ นั้นคือปัญหาของพวกเขาเอง ความไม่สะดวกที่ผู้พิการต้องเผชิญสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ได้ แค่เพียงคิดว่าเรากำลังทำสิ่งที่เหนือไปกว่าเพียงการเอาใจใส่ในสวัสดิภาพขั้นพื้นฐานของผู้คน ผมก็พบว่าตนเองกำลังยิ้มเล็กๆ อยู่ในใจแล้ว
การเข้าใจผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มนำที่เผชิญกับความไม่สะดวกสบายทำให้ฉันตระหนักได้ว่า เราทุกคนต่างได้รับความไม่สะดวกสบายจากหลายสิ่งซึ่งกลายมาเป็นสิ่งที่ผู้คนก้มหน้าก้มตายอมรับ แทนที่จะมองว่าความไม่สะดวกบางอย่างคือความต้องการพิเศษ หากเราเพียงพิจารณาว่าจะปรับปรุงสิ่งต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง ก็อาจช่วยให้เราสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นสำหรับทุกคนได้
คำแนะนำให้คิดอย่างเป็นอิสระมากขึ้นระหว่างการระดมสมองของเราทำให้ผมประทับใจอย่างมาก ผมจินตนาการว่า การปลดปล่อยตัวเราเองจากความกังวลว่าสิ่งใดเป็นไปได้หรือไม่ได้และสร้างแรงบันดาลใจจากความคิดด้วยสมองซีกขวาในบางครั้งคราวอาจช่วยให้เรามองเห็นภาพของอนาคตใหม่ที่ดีกว่า
ในหลายช่วงเวลาระหว่างเวิร์กช็อป การได้เรียนรู้วิธีการที่ Sato และ Maito รับรู้สิ่งต่างๆ นั้นล้มล้างมุมมองแบบเหมารวมของเรา แต่อันที่จริง ความคิดเห็นของเราได้เผยให้ Sato ทราบว่า มีความไม่สะดวกสบายมากมายที่เขายอมรับในฐานะคนพิการ เขากล่าวว่า เขาหวังให้เราสานต่อการช่วยเหลือให้ผู้คนเหล่านั้นทำลายความคิดแบบตายตัวของตนเอง ขจัดมุมมองแบบเหมารวมของกันและกัน แล้วโลกนี้ก็จะกว้างขึ้นอีกเล็กน้อยโดยทันที เราหวังที่จะนำความตระหนักรู้นี้ไปใช้กับงานในอนาคตของเรา
Sony และ WS Audiology Denmark A/S (WS Audiology) ได้ทำข้อตกลงคู่ค้าสำหรับการพัฒนาและจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการร่วมกันในธุรกิจเครื่องมือช่วยเหลือด้านการได้ยินที่วางจำหน่ายแบบ Over-the-counter (OTC) สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่
Sony ได้พัฒนารีโมตคอนโทรลใหม่ขึ้นสำหรับทีวีรุ่นปี 2022 ผ่านการทำแบบสำรวจผู้ใช้และการทดสอบความสามารถในการใช้งาน การสื่อสารกับผู้ใช้โดยตรงช่วยให้นักออกแบบมั่นใจว่ารีโมตนั้นจะช่วยให้ผู้คนจำนวนมากใช้งานรีโมตนั้นได้อย่างสะดวกสบาย สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่
*1 ไม่มีในญี่ปุ่น ในพื้นที่อื่นๆ รีโมตนี้จะมาพร้อมกับทีวีในซีรีส์ Z9K, A95K และซีรีส์ X95K (เฉพาะยุโรป)
เนื้อหา: Airi Tanabe ภาพถ่าย: Kiara Iizuka
[การเข้าถึง] [#ความคิดสร้างสรรค์] [#เทคโนโลยี]